fbpx

หลังจากที่ได้ไปพักผ่อนในช่วงเช้ากันไปบ้างแล้ว ช่วงบ่ายของงาน iCreator Conference 2020 เป็นช่วงที่หลายคนจับตามากๆ โดยเฉพาะการมาของ “สุทธิชัย หยุ่น” รวมไปถึงการรวม YouTuber หลายท่านมาให้ความรู้ในมุมมองที่หลากหลายและน่าสนใจมากเลยทีเดียว ส่องสื่อสรุปช่วงที่น่าสนใจมาให้ได้อ่านกันแล้ว มาอ่านกันดีกว่าครับ

BoomTharis ขายของหรูอย่างไรให้เข้าถึงง่าย

ถ้าพูดถึง Youtuber ที่ได้รับสิทธิรีวิวอสังหาริมทรัพย์สุดหรูหรา คงมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิเหล่านั้น ในวันนี้ทาง ICreator Conference 2020 ได้เชิญ คุณ ธริศร ธรณวิกรัย หรือช่อง Boomtharis เข้ามาอธิบายว่า ขายของหรูอย่างไรให้คนเข้าถึงง่าย

ที่มาที่ไปของช่อง Boomtharis คืออะไร? – คนดูอาจจะคิดว่าช่อง Boomtharis อาจเป็นช่องรีวิว Luxury product, อาหาร หรือ Omakase แต่ที่จริงแล้วช่องนี้เป็นช่องที่ทำเกี่ยวกับ Lifestyle ของ Boomtharis โดยจุดเริ่มต้นของช่องนี้เริ่มต้นจากการทำวิดีโอให้ช่องรีวิวอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อว่า Thinkofliving.com โดยมีเป้าหมายแรกคือการให้ข้อมูลเชิงลึกแก่คนที่วางแผนกำลังจะซื้อบ้าน หรือคอนโด ที่มีเป้าหมายกลุ่มแคบ แต่คุณบูมสามารถทำคอนเทนต์ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างดี จนวันหนึ่งเริ่มเห็นช่องทางใน YouTube จึงอยากที่จะลงคอนเทนต์ใน YouTube บ้าง นี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของช่อง BoomTharis

เคล็ดลับวิธีการเล่าอสังหาริมทรัพย์ เล่าอย่างไรให้ปัง? – จริง ๆ ช่อง Boomtharis ไม่ได้เอาอสังหาริมทรัพย์เป็นตัวตั้งของช่อง แต่เลือกที่จะเอาสิ่งที่ตนเองสนใจเป็นตัวตั้ง เราต้องสวมเป็นคนดู และต้องจับหลักว่าคนที่ดูช่องเรา เป็นคนที่กำลังซื้อบ้าน หรือคนดูทั่วไปที่อยากรู้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เฉย ๆ โดยตอนทำ Think of living ทำคลิปเกี่ยวกับตึกมหานคร คุณบูมเริ่มอยากที่จะเล่าให้คนธรรมดาที่ไม่ได้ต้องการจะซื้อให้ดูบ้าง โดยหาจุดเด่นที่ทำให้คนธรรมดาเหล่านี้สนใจ อย่างราคาที่ทำไมมันถึงสูงมากขนาดนี้ เขาก็จะพาเราไปรู้ว่าทำไม ราคาถึงได้แพงขนาดนี้

โดยการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีความเป๊ะมาก จะแบ่งงานเป็นทั้งหมด 3 ช่วง แบ่งเป็นช่วง Preproduction ที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังทำ เรียงเนื้อหา และต้องไปหน้างานสักครั้งก่อนที่จะมาทำในช่วงที่สอง เป็นช่วงที่ใช้เวลาทำนานที่สุดแล้ว ต่อมาเป็นช่วง Production ถ่ายภายในหน้างาน การถ่ายงานนี้ไม่ได้ยากอะไร แต่ต้องแข่งให้ทันกับเวลา และตบท้ายด้วยช่วง Post Production การเป็นคนตัดต่อที่ดีต้องสื่ออารมณ์ให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนที่เรารู้สึก โดยคุณบูมให้เคล็ดลับมาว่า เขาได้ให้ความสำคัญของเสียงมากกว่าภาพ โดยถ้าการใส่เสียงมันจะทำให้ผู้ชมสามารถดูได้จนจบ อย่าง Sound effect ทำให้ผู้ชมได้สังเกตุเห็นสิ่งที่เราต้องการนำเสนอมากขึ้นภายในคลิป

คำแนะนำสำหรับ Creator – สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ Creator คือคนดู ทำคลิปแล้วคนจะดูรึเปล่า ให้รู้จุดเด่นของตนเอง โดยจุดเริ่มแรกที่ทำคลิปของคุณบูม เขาได้ตั้งคำถามว่า Content มีประโยชน์ต่อคนดูรึเปล่า? มีเหตุผลที่ทำให้เราไปต่อได้รึเปล่า? เราจะทำให้คนที่จะซื้อบ้านมีข้อมูลมากขึ้น เหมือนเรามีเป้าหมายแล้วว่าจะทำคลิปไปเพื่ออะไร?

ว่านไฉ อาสาพาไปหลง และ Sneak out หนีเที่ยว Travel Blogger ปรับตัวอย่างไรในยุคโควิด-19

ว่านไฉ อาสาพาไปหลง เปิดเผย เล่าประสบการณ์การทำงานของทีมงานอาสาพาไปหลง ช่วงโควิด-19 ทางอาสาพาไปหลง เปิดเผยว่าให้พนักงานกลับไปทำงานที่บ้าน พร้อมปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื้อหาคอนเทนต์ให้มีการรีรันคลิปเที่ยว พร้อมคอนเทนต์ใหม่ๆ เช่น การทำอาหาร Travel From Home เป็นต้น

เราทำคอนเทนต์รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวมีวันหมดจริงไหม ? – จริงครับ เพราะถึงจะหลายที่ แต่ในหลาย ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่มันก็มีอีกแบบหนึ่ง ถ้าเรามองว่าเป็นการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างการไปท่องเที่ยว ก็มีหลากหลายเรื่องราวทำสามารถทำได้

ทาง Sneak out หนีเที่ยว เผยเล่าประสบการณ์การทำงานในช่วงโควิดก็ได้มีการปรับเปลี่ยนตัวคอนเทนต์ให้มีความแตกต่างจากเดิมมากขึ้น พร้อม brainstorm กับน้องที่ทำงานให้นำ Material มาปรับใช้ การนำรูปเก่าๆ มาทำเป็นคอนเทนต์ใหม่เป็นต้น พบว่ามียอดการอ่านที่มากขึ้น การเข้าถึงที่มากขึ้น

คำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็นบล็อกเกอร์สายท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง – สำหรับการเริ่มทำตอนนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ เราต้องรู้ก่อนว่า ฉันคือใคร คนดูของฉันคือใคร ลูกค้าคือใคร เราทำไปเพื่ออะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราได้รู้ว่าลูกเพจชอบอะไร ทำให้เราสามารถทำคอนเทนต์ได้ถูกกลุ่ม

แนวทางการพัฒนาและต่อยอดคอนเทนต์ – ทางทีมงาน Sneak out ได้มาแชร์ ทางผมเองได้ทำเว็บขึ้นเป็นเว็บรวบรวมสถานที่ท่องเที่ยว แล้วก็ที่พัก ราคาที่ดี ได้ทำตัวเว็บขึ้นมาขาย voucher เพื่อให้ผู้คนได้มาใช้กันและซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดี อาจไม่ดีมากแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และอีกอย่างหลุดมาจากท่องเที่ยวนิดหน่อย เป็นการทำคอนเสิร์ต คือ hotel fest

กลั่นประสบการณ์ จากนักข่าวสู่นักทำ Content แบบฉบับ “สุทธิชัย หยุ่น”

ถ้าจะพูดถึงนักข่าวระดับตำนาน ที่ปรับตัวทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่มีใครไม่นึกถึงเขาคนนี้ “สุทธิชัย หยุ่น” นักข่าวระดับตำนานที่หาคนเทียบยากมาก ด้วยฝีมือและการปรับตัวที่ทันกับเทคโนโลยีมาก ๆ วันนี้ในงาน iCreator Conference 2020 เขาจึงเป็นหนึ่งคนที่ถูกเรียนเชิญมาพูดบนเวที เพื่อกลั่นกรองประสบการณ์ของเขา มาเป็นความรู้ในการผลิตคอนเทนต์ให้คนรุ่นใหม่ต่อไป

ในวันที่สื่อถูกตั้งคำถามในยุคเปลี่ยนผ่านค่อนข้างเยอะ? – สุทธิชัยเล่าว่าช่วงแรก ๆ ที่ทำข่าว ใช้พิมพ์ดีดในการพิมพ์ข่าว ความจริงสนุกมาก ทุกยุคทุกสมัยที่มีแรงบันดาลใจเข้ามา ต้องไปเขียนข่าว บันทึกข่าว สัมภาษณ์เอง ไม่มีผู้ช่วย เทปก้อนใหญ่ บางทีเทประโยงระยาง หายไป ก็ต้องเอาความจำมาใช้ แต่สิ่งสำคัญในการทำงานคือเนื้อหา ความสำคัญของการจับประเด็น STORY TELLING ไม่เปลี่ยนแปลง และหัวใจสำคัญคือเรื่องที่จะอยากเล่า ต้องเล่าให้ถูกต้อง สำคัญ น่าสนใจ ส่วนเทคโนโลยี เปลี่ยนได้ เรียนรู้ได้ อยู่ที่ว่าเราอยากรู้อยากเห็นอะไร และอยากสื่อสารอะไร ทุกเช้าเมื่อตื่นขึ้นมา เขาก็ตื่นเต้นว่าวันนี้เขาจะสร้างคอนเทนต์อะไร

สุทธิชัยเล่าต่อว่า ในช่วงแรก ๆ ที่ตนทำ Facebook Live มีคนดูแค่ 2-3 คนเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่มีใครสร้างคอนเทนต์แล้วสำเร็จเลย และไม่ว่ายุคเปลี่ยนไปยังไง แต่ยังเปลี่ยนผ่านเทคนิคตามเทคโนโลยี เปรียบเทียบกับอดีต เมื่อ 10 กว่าปีก่อน สื่อสังคมออนไลน์มันคือของฝากจากพระเจ้า แต่ก่อนส่งข่าวต้องใช้โทรศัพท์ตั้งโต๊ะ บางทีต้องหาตู้โทรศัพท์ ต้องวิ่งไปรอ และต้องมีเหรียญเรื่อย ๆ 10 บาท 5 นาที ลำบากในการส่งข้อมูล วันดีคืนดีในงานสัมมนา นักศึกษาคนหนึ่งก็แนะนำให้รู้จักทวิตเตอร์ ถ้าเพื่อนมีแอพเดียวกัน มันมาเลย เมื่อลองแล้วมาทันที มันมหัศจรรย์เพราะมาได้ทันที มันมาแก้ PAIN POINT ให้ง่าย เมื่อกระโดดไปในสิ่งใหม่ เพราะมันช่วยให้งานง่ายขึ้น

ปัญหาคือต้องไปชวนนักข่าวให้เล่นทวิตเตอร์ด้วย ซึ่ง 99% ไม่เห็นด้วย และไม่เชื่อ แถมแรก ๆ เขียนได้ 140 อักษร ทุกคนหนีหมด ในขณะที่ข่าวมี 600 ตัวอักษร ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ แรก ๆ อาจจะดูยุ่งยาก แต่เร็วขึ้นและดีขึ้น และในอนาคตจะดีขึ้นกว่านี้ เวลาเห็นสิ่งใหม่ที่มันช่วยทำงานได้ อย่าปฏิเสธ ให้เข้าไปเลย ไม่เวิร์คก็เลิกทำ แต่คนส่วนใหญ่ถึง 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ คิดแต่ไม่ทำให้มันเกิด เพราะกลัวมัน กลัวทำไม่เป็น ยิ่งเวลาผ่านไป ยิ่งเปลี่ยนผ่านไวขึ้นเรื่อย ๆ

ถึงวันนี้มีคนดูเจ็ดล้าน ไม่คิดว่าจะมีเยอะขนาดนี้ หลายคนบอก TIKTOK เหมาะกับคนรุ่นใหม่ ไม่เหมาะกับข่าว สุทธิชัยทำไม่ได้ ไม่จริง เขาหาทุกวิถีทางในทุกแพลตฟอร์ม บอกเงื่อนไขมา ถ้าที่นั่นมีคน เขาไป ตัวเราต้องสร้างตลาด ถ้ามีอยู่แล้ว และมีคนปกติ ไปหาตรงนั้น ไปแสดงตรงนั้น ไม่ว่าจะเล็กใหญ่ วัยรุ่น คนทำงาน เขาจะเบียดเสียดตัวเองเข้าไปเพื่อกระจายข่าว Facebook ต้องเต็มเรื่อง ทวิตเตอร์ต้องสั้น เรื่องเดียวกันต้องเปลี่ยนวิธีนำเสนอ

ใน TIKTOK ต้องพูดให้ได้ เข้าใจง่าย สนุก ภายใน 1 นาที ตอนแรกก็ต้องฝึก ต้องปรับตัวตลอดเวลา ให้พูดเรื่องเดียวกัน 10 ไป 5 5 ไป 3 3 ไป 1 ต้องได้ ท้าทายตัวเองตลอดเวลา ต้องทำให้ได้ เวทีใหม่อย่าง TikTok ต้องเรา ต้องไว ต้องสร้างสรรค์ถ้าที่เคยทำที่อื่นยังไง ต้องย่อให้สั้นลงได้ แต่ก็ต้องปรับตัว และไม่เวิร์คทุกครั้งไป 10 ครั้ง ไม่เวิร์ค 8 เวิร์ค 2 ก็ดีแล้ว

สุทธิชัยพูดถึงการทำงานว่า เวลาไปต่างจังหวัดทุกครั้งจะแวะตลาดเช้า มีเรื่องราวมากมาย แม่ค้าทุกคนมีเรื่องราวเป็นของตัวเอง ทุกเช้าเขาจะไปตลาด เขาจะรู้เรื่องราวของเด็ก คนแก่ ต้องปรับตัวยังไง เจอวัยรุ่นหนีกรุงขายลูกชิ้น คอนเทนต์นี้ก็เกิดได้ ประสบการณ์ต่าง ๆ คนสนใจ ไม่ต้องดัง มีชื่อเสียง แค่รู้วิธีเล่าที่น่าสนใจ เช่น ดาราศาสตร์ก็ได้ นอกจากนั้นรายการสดที่ทำอยู่แล้วประจำ เดิมใช้การถ่ายทอดสด มีสำนักข่าว มีห้องส่ง เมือสามารถถ่ายทอดสดผ่านมือถือได้ ความคิดมันมาในสมองทันที

ยุคที่สื่อถูกวิจารณ์ในการเอียงข้าง สนับสนุนบางพรรค มี AGENDA คุณสุทธิชัยมองสื่ออย่างไร?

มันเปลี่ยนไป ใคร ๆ ก็เอาขึ้นไปได้ สภาวการณ์การแข่งขันที่ต้องอยู่รอดเพราะเศรษฐกิจแย่ ต้องสร้างเรตติ้ง หลายคนคิดว่าต้องสร้างข่าวดรามา บางข่าวก็งงว่าทำไมต้อเจาะขนาดนั้น เช่น ข่าวเด็กเสียชีวิต ใบ้หวยด้วย ทำเสื่อมศรัทธา แล้วพอการเมืองมา ทำสื่อดั้งเดิมเอียงข้าง แล้วไปสร้างภาพให้คนดูเหมือนกองเชียร์มวย แต่ความน่าเชื่อถือหาย สื่อที่ดีต้องมีจรรยาบรรณ อคติน้อย ไม่ใช่ว่านักข่าวต้องไม่มีอคติเลย แต่คุณต้องเก็บอคติไว้ ไม่ใส่ลงในข่าว เสนอความเห็นทั้ง 2 ฝ่ายให้ได้มากที่สุด ให้คนดูตัดสินเอง เดี๋ยวนี้คนที่ทำข่าวดั้งเดิมหลุดจากช่องดั้งเดิมเยอะ ก็กลายเป็นเด็กรุ่นใหม่ แล้วเด็กก็ถูกสอนว่าต้องทำให้คนดูเยอะสุด เรตติ้งต้องดี พาดหัวรุนแรง หนักหน่วง ดรามา เกิดวิธีใหม่ที่เชียร์ข่าวเหมือนเชียร์มวย ขาดการทำหน้าที่อย่างเป็นธรรม

ล่าสุดก็นักข่าวทำข่าวชุมนุม โกหกมาจากช่องนู้น นั้น นี้ กลัวมีปัญหา เขาจำได้อยู่แล้ว ไม่มีทางปิดบังได้ หนักหน่วงพอสมควรเพราะผิดหลักการที่ต้องแสดงตน สังกัด และวัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์ด้วย อยู่ที่เขาต้องมั่นใจในการนำเสนอที่ถูกต้อง เป็นธรรม การแข่งขันหนักขึ้น หัวหน้าสื่อ และผู้บริหารเห็นการอยู่รอดสำคัญกว่าหลักการ ยิ่งมีการเมือง ทำเอียงข้าง ความเชื่อถือหมดไป

ปัจจุบันคนหาข่าวจากมือถือ และทุกคนเป็นนักข่าวได้ เส้นแบ่งความแตกต่างระหว่างนักข่าวมืออาชีพกับคนทั่วไปค่อย ๆ หายไป นักข่าวอาชีพทำตัวเหมือนนักข่าวธรรมดา จึงถูกตำหนิมากขึ้น เห็นว่าวงการสื่อจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญและอย่างต่อเนื่อง คนอ่านข่าวฉลาดขึ้น ไม่ได้ไร้การศึกษา เรียนรู้ดีกว่านักข่าว จึงอันตราย จะโดนจับผิด วิจารณ์หนักขึ้น เว้นแต่จะปรับตัวครั้งใหญ่ ใน 3-5 ปีข้างหน้า และสื่อหลักจะเหลือน้อยมาก จะแปลงเป็นออนไลน์ ซึ่งจะน่าเชื่อถือมากหรือน้อย อยู่ที่การวางตัว ว่าทำเรตติ้ง หรือเลือกข้างเพื่ออยู่รอดหรือไม่

สุทธิชัยให้ข้อเสนอไว้ว่า สังคมไปด้วยกันได้ ต้องมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับคนทุกฝ่าย ความเห็นทุกด้าน วันนี้แบ่งข้าง แบ่งฝ่าย ถือไว้ว่าฝ่ายหนึ่งผิด กล่าวหาอีกฝั่งหนึ่ง มีหลักฐานบ้าง ไม่มีบ้าง วิกฤตินี้เริ่มจาก TECHNOLOGY DISRUPTION ถ้าคุณไม่ปรับตัว คุณก็จะไม่มีใครตามแล้ว ปัจจุบันเทคโนโลยีง่ายขึ้น ถ้าไม่ปรับตัว ก็ไม่ต้องถาม พอโควิดมา โควิดตามมาซ้ำเติมปัญหาธุรกิจที่มีอยู่

ซึ่งทางออกคือใช้และสร้างเทคโนโลยีในทางบวก นำมาปรับตัว เพื่อให้ไม่เหมือนเดิม และหลังจากโควิด-19 อาจจะมีหลายอาชีพที่ไม่เหมือนเดิม และไม่เป็นที่ต้องการแล้ว ต้องสร้างอาชีพใหม่ เขาว่าอุตสาหกรรมหลายอย่างเกิดขึ้นได้โดยฉับพลัน สอนเราว่าบางอย่างที่ทำ เราไม่ต้องทำก็ได้ ที่เคยมีคนจำนวนนี้ ไม่ต้องจำเป็น ทำวิกฤตให้เป็นโอกาส มีวิกฤตแล้ว อย่าเสียโอกาส จะสร้างคอนเทนต์ออนไลน์ยังไง นั่นเป็นจังหวะ

โอกาสสอนเราให้ละทิ้งความกลัว บริหารการเปลี่ยนแปลงได้ จากนี้ไป จะไม่มีอะไรเหมือนเดิม อยู่ที่เราจะหาโอกาส หลังจากโควิด อาจจะมีวิกฤตอย่างอื่น อย่าคิดว่ามันจะเหมือนเดิม ต้องปรับตัวให้ได้ ต้องย้อนกลับมาดูตัวเอง ตามเทคโนโลยีให้ทัน หาตัวเองให้เจอตรงนั้น คอนเทนต์จะมาจากตัวเราเอง เทคโนโลยีอีกหน่อยจะเปลี่ยนอีก จุดเริ่มต้นคือการทีสื่อสังคมออนไลน์สามารถแบ่งข้อมูลกับคนอื่นได้

ติดตามการสรุปงาน iCreator Conference 2020 ได้ตลอดทั้ง 3 วันทาง Facebook : ส่องสื่อ

ส่องสื่อ เป็น 1 ใน Media Partner ของงาน iCreator Conference 2020