fbpx

เข้าสู่วันที่สองของ iCreator Conference 2020 กันแล้ว โดยวันนี้เริ่มเปิด Section โดยทาง MediaDonut ผู้ได้รับการบริหารจัดการ Spotify อย่างเป็นทางการในประเทศไทย โดยออกมาเปิดเผยถึงตัวเลจที่น่าสนใจสำหรับคนฟังและคนทำสื่อเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีบรรดา Podcaster ชั้นนำของเมืองไทย นักเล่าเรื่องผี YouTuber ชื่อดัง และตบท้ายด้วยนักเขียนชื่อดัง มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้ฟังแบบจุกๆ วันนี้ส่องสื่อสรุปงานวันที่สองมาให้อ่านกันครับ

Spotify เปิดเผยยอดการฟัง Podcast เติบโตสูงถึงร้อยละ 11

เริ่มต้นจากยอดการฟัง Podcast ในประเทศไทยมีการเติบโตมากขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (2562) มากถึงร้อยละ 11 เลยทีเดียว ในขณะที่กลุ่มหลักที่ฟัง Spotify คือกลุ่ม Gen Z และ Millennials ซึ่งเติบโตจากไตรมาส 2 ของปี 2017 มากถึงร้อยละ 35 เลยทีเดียว

ในขณะที่ Lifestyle ของคนฟัง Spotify แบ่งเป็น 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ฟังอยู่บนรถร้อยละ 70 กลุ่มที่ฟังในที่ทำงานร้อยละ 65 กลุ่มที่ฟังในที่ประชุมร้อยละ 60 และกลุ่มที่ฟังที่บ้านร้อยละ 59 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนฟังกระจัดกระจายและฟังเพื่อจัดการตัวเองก่อนเริ่มทำงานนั่นเอง

ในขณะที่ผู้ฟัง Podcast หลายคนคงอาจจะยังไม่เคยทราบว่าคนฟังชอบอะไร ร้อยละ 14 จะชอบการเปิดกว้างทางความคิด ร้อยละ 13 ชอบความคิดสร้างสรรค์ ร้อยละ 11 ชอบที่จะลองสินค้าอะไรใหม่ๆ และชอบหาข้อมูลสินค้าทางอินเตอร์เน็ต และร้อยละ 13 สามารถบริหารจัดการทางการเงินได้ดี

ในขณะที่ Audio Streaming มียอดเติบโตสูงขึ้นถึงร้อยละ 67 โดยเพลงไทยสากลและเพลงเกาหลีได้รับความนิยมสูงสุดในไทย ในขณะที่กลุ่มเพลย์ลิสต์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่กลุ่มที่ฟังในระหว่างเตรียมตัว กลุ่มฟังบนรถ กลุ่มฟังเพื่อดึงความสนใจ กลุ่มฟังขณะออกกำลังกาย และกลุ่มที่ฟังในระหว่างการทานข้าวมื้อค่ำ

ในขณะเดียว Global Brands มีการกลับมาทำ “Sonic Branding” ซึ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยเป็นการออกแบบเอกลักษณ์ในการสร้างแบรนด์ โดยถ้าในประเทศไทยจะคุ้นเคยเสียงกดกริ่งของมิสทีนเป็นอย่างดี แต่ในต่างประเทศสองแบรนด์ที่ตั้งใจทำและยกเป็น Case Study นั่นก็คือ Mastercard และ AVON ที่ตั้งใจทำเป็น Digital Identity ซึ่งทำให้คนรับฟังได้จินตนาการและคิดถึงภาพลักษณ์ในแง่บวกได้ดีอีกด้วย

อนาคตของพอดแคสต์ กับ GetTalk – Salmon และคู่หู

พอดแคสต์นับเป็นสื่อที่เริ่มมีคนให้ความนิยมที่มากขึ้นพร้อมกัน ทั้งคนทำที่มากขึ้น สื่อต่าง ๆ เริ่มหันมาทำพอดแคสต์กันมากขึ้น แล้วอนาคตจะเป็นอย่างไร ? โฆษณาจะมากขึ้นไหม ?

ถ้าหากมองในมุมของเนื้อหาและแพลตฟอร์ม ย้อนกลับไปสมัยก่อนอาจไม่คิดว่าจะมีรายการที่แปลกใหม่ขึ้นมา อย่างเช่นรายการเที่ยวที่เล่าเกี่ยวกับท่องเที่ยวผ่านพอดแคสต์ ซึ่งสามารถนำไปทำพอดแคสต์ได้ หรือ Stand-up Comedy ที่นำศาสตร์เรื่องตลกมารวมกันแล้วแล้วเล่าผ่านการทำพอดแคสต์ นอกจากการฟังที่ได้เนื้อหาและสาระ ยังต้องได้อะไรอีกหลายๆ อย่างทั้งการ Entertain และความสนุก

สถานการณ์ของพอดแคสต์ในช่วงโควิด ถึงแม้ว่าจะมีคนอยู่บ้านมากขึ้น แต่ยอดกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นเสียทีเดียวเราเข้าใจว่าถ้าอยู่บ้านคนจะฟังมากขึ้น แต่กลับไม่ใช่เพราะปกติคนจะฟังพอดแคสต์ในสถานการณ์บางอย่างเช่น ตอนกำลังไปทำงาน แต่ก็พบว่ายอดการฟังพอดแคสต์ใน YouTube นั้นเพิ่มมาก พร้อมกับผู้ฟังที่หลากหลายมากกว่าเดิม

การทำพอดแคสต์ในปัจจุบันยากขึ้นไหม ? อะไรเป็นสิ่งที่ยากที่สุดคงเป็นเรื่องการบอกแบรนด์ให้เห็นว่าเขาจะอยู่ตรงไหนได้บ้างในคลิปๆ นั้นที่เป็นเพียงเสียงที่ไม่ได้มีวิดีโอ ในการโฆษณาต่าง ๆ

ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาเรา ก็ได้ลองทำอะไรที่หลากหลายกันมากขึ้น อย่างการนำคอนเทนต์ขึ้น YouTube ซึ่งสามารถสร้างยอดผู้ฟังให้เราเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก ซึ่งความง่ายของการค้นหาคอนเทนต์ใน YouTube มันง่ายกว่ามาก คนฟังเยอะขึ้น จริง ๆ คงจะเป็นเพราะ YouTube Premier ด้วย ทำให้เราได้เห็นว่าพอดแคสต์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในแพลตฟอร์มเดียว หรืออย่างการนำพอดแคสต์ไปลงใน TikTok ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดีหรืออย่าง in-ear pocketbook ก็ดี

ถ้าหยิบหนังสือมาเล่าเรื่องจะนับเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ? อย่างน้อย ๆ การที่จะนำหนังสือมาเล่าเรื่องคงต้องมีค่าเรื่อง ค่าลิขสิทธิ์ให้กับนักเขียน สำนักพิมพ์ด้วย

สำหรับคนที่อยากจะมาเป็น Podcaster เป็นอย่างไรบ้าง ? ต้องปรับตัวอย่างไร พอดแคสต์ที่ได้รับความนิยมเป็นหลักคงไม่พ้นด้านธุรกิจ การพัฒนาตัวเอง กฎหมายบ้าง ซึ่งเราจะเน้น Entertainment เป็นหลัก เพื่อให้ตัวพอดแคสต์มีความสนุก หากคนที่เข้ามาทำพอดแคสต์อาจจะเน้นด้านธุรกิจ การพัฒนาตัวเอง หรือใช้ความถี่เข้าช่วยคือลงพอดแคสต์บ่อย ๆ ก็ทำให้มีโอกาสที่จะติดมากขึ้นอย่างคนที่ทำรายวันแล้วได้ผลก็มีอย่างเช่น 8 บรรทัดครึ่งพอดแคสต์

ความสั้นยาวของเนื้อหาเกี่ยวไหม ? จริง ๆ มันเกี่ยวกับความเหมาะสมของตัวคอนเท้นมากกว่า ถ้าหากตัวพอดแคสต์ EP นั้นจำเป็นต้องยาว ก็ควรต้องยาว ให้เหมาะสม

ปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ มีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ? ตอนนี้แบรนด์หลายๆ แบรนด์ก็เปิดใจมากขึ้น มีการขอ rate card ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดี สิ่งที่พอดแคสต์ต่างจากสื่ออื่น ๆ คือที่เมื่อฟังไปแลวจะไม่สามารถฟังซ้ำได้ แต่พอดแคสต์สามารถทำได้ และสิ่งที่แบรนด์สนใจคือ การที่พอดแคสต์สามารถโน้มน้าวให้เกิดพฤติกรรมบางอย่างได้

รู้จักการปรับตัวของสื่อไอที ตามสไตล์ “หนุ่ย แบไต๋”

เข้าสู่ช่วงบ่ายวันนี้ด้วยการเปิดหัวข้อ Media Transformation โดย “หนุ่ย พงศ์สุข” จากเว็บไซต์แบไต๋ สื่อไอทีที่ก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านทุกยุคทุกสมัยแบบไร้ขีดจำกัด จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

หนุ่ยเริ่มเล่าบนเวทีว่า ในอดีตเราต้องบอกผู้คนในสื่อเก่า ๆ ว่าให้คนรู้จักอินเทอร์เน็ต อย่างผมก็เป็นคนที่ทำในยุคแรก ๆ โดยมีจุดต้นกำเนิดมาจากคุณจอห์น รัตนเวโรจน์ ที่ชวนผมมาทำรายการ ต่อมาผมเคยผลิตรายการทีวีของตัวเอง ในอดีตมีสตูดิโอรายการแบไต๋และจัดกิจกรรมไอที อยู่ที่ Digital Gateway ใจกลางสยามสแควร์ แรก ๆ ผลตอบรับดี แต่พอม็อบลงถึง 3 ม็อบ ก็แผ่วลงไป ก็พยายามมาทำรายการทีวีโดยลดต้นทุนลง ซึ่งก็ไม่รอดอยู่ดี ตอนนั้นปรับตัวเร็วแต่มาผิดทิศ มีคนเสนอให้ทำแอป เราก็ทำแอป เป็น Digital Magazine ชื่อ “แบไต๋ hitext” ฉบับ 1-3 โหลดฟรีผลตอบรับดี แต่พอมาฉบับที่ 4 ต้นไป คิดเงินก็ล้มเหลว แต่ก็พยายามปรับตัวไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็ต้องยอมยกธงขาว เพราะก็ไปไม่รอด ตอนนั้นผมดูเป็นผู้แพ้มาก แม้แต่ภารยาผมก็บอกว่าเอาความฝันไปละเลงเอง

สุดท้ายผมก็ต้องลดการเช่าคนอื่น โดยการทุบบ้านทำสตูดิโอตัวเอง เพื่อผลิตรายการป้อนไทยรัฐทีวี ยอมเสียสนามหญ้าและวิวสวยๆ บ้านก็หมดสวยไป โดยรายการที่ทำคราวนี้เป็นรายการที่รวมทั้งทีวีและออนไลน์ด้วยกัน คือเกมโชว์ที่ดูทีวีไปเล่นแอปไป แต่สุดท้ายก็สปอนเซอร์ไม่ค่อยเข้า ไม่รู้จะเอาอะไรมาแจกผู้ชม จนสุดท้ายก็ฝากรายการสุดท้ายคือ เดอะรีวิวเวอร์ รีวิวสินค้าไอทีออกทีวี แม้จะเรตติ้งดีของช่องเลย แต่ต่อมาผู้บริหารบอกว่ารายการดูลงทุนน้อยไป ไม่เหมาะกับออกทีวี

และผมมีโอกาสได้คุยกับเจ้าสัว CP และได้พูดคุยกัน จนได้ยินเสียงจากเขาว่า “ผมกลัวการล้มละลายมาก” ไปถึง 4 ครั้ง เพราะว่า Technology Disruption จะสามารถทลายบริษัทยุคเดิมที่ใช้คนและต้นทุนเยอะ จากธุรกิจใหม่ที่เริ่มต้นแค่ไม่กี่คน ทุนต่ำ ๆ คิดดูขนาดบริษัทใหญ่ทุนอยู่ได้ยาวๆ ยังคิดแบบนี้เลย

พอมาเป็นยุคออนไลน์ ก็คือจุดที่ต้องปรับตัวจริง ๆ ผมก็ยุติการเช่าเวลาสถานีโทรทัศน์ มาทำออนไลน์เต็มตัว ทุกอย่างต้องสั้นกระชับและเร็วกว่าบนทีวี อย่าง Facebook มีสถิติคนไทยไถผ่านภายใน 0.7 วินาที และคนไทยดูเป็นอันดับ 3 แต่เป็นอันดับ 1 ในการไถผ่านมากที่สุด ในอดีตผมเคยบ้าไตเติ้ลตอนทำรายการทีวี เครดิตต้องครบ กราฟิกต้องสวยดูดี ก็ต้องทำพวกนี้ให้สั้นหรือแทบไม่มีเลย เปิดมาต้องเข้ารายการทันที ต่อมาในอดีตคนดูผ่านทีวี เลยคิดว่าหากเป็นรายการสาระความรู้ ก็ไม่จำเป็นต้องดูดีมาก แต่พอมาทำออนไลน์ คนต้องดูใกล้จอมากขึ้นก็เลยต้องลดน้ำหนัก ถึงขั้นงดน้ำตาลไปเลย

และเพราะออนไลน์คอนเทนท์มีหลายช่องทาง แต่ทั้งนี้แต่ละช่องทางก็ต้องทำสัดส่วนให้เหมาะสม เวลาผลิตวิดีโอ ต้องผลิตให้ถูกรูปแบบ และบางแพลตฟอร์มก็อาจไม่จำเป็นต้องสั้นเกินไปด้วย อย่างเช่นกรณี YouTube คนนิยมดูผ่านทีวีและคอมพิวเตอร์มากกว่ามือถือ ก็ควรทำยาวกว่าบน Facebook ได้ และต้องใช้สัดส่วน 16:9

สำหรับการเล่าเรื่องให้ทันเหตุการณ์ คุณหนุ่ยเล่าต่อว่า อย่างช่วงที่มีดรามาทนายท่านนึง ถูกยึดของเหลว และก็โวยว่าเข้าข่ายลักทรัพย์ แต่เราเห็นว่าจริง ๆ ในสนามบิน มีตู้ของไปรษณีย์ไทย ชื่อ APM ที่สามารถส่งของที่ไม่ผ่านการ X-ray กลับบ้านได้ แต่คนน่าจะยังไม่ค่อยรู้ ก็เลยออกไปทำรีวิวเดี๋ยวนั้นเลย ซึ่งไม่ได้ค่าจ้างรีวิวอะไรเลย แต่พอปล่อยคลิปนี้ออกไป ที่กระชับดูเข้าใจง่ายเร็ว ๆ มันทำให้สายโทรศัพท์เข้ามาอีกครั้งหลังจากลาจอทีวี มีคนชื่นชมว่าเราทำรีวิวได้ดี อยากให้มารีวิวสินค้าของเราบ้างสิ

แต่เราก็ต้องมีจรรยาบรรณคือ เราจะรีวิวตามความจริง คือเราจะพูดข้อดีหรือสเปกคุณสมบัติได้หมดเลย แต่เราต้องขอบอกข้อเสียของสินค้าคุณแล้วคาดแถบว่าเป็น Ads ให้เห็นด้วยนะ ทุกคนที่จะจ้างเรารีวิวต้องรับได้กับเงื่อนไขนี้ และเราต้องขอบอกราคาสินค้าคุณชัดเจนด้วย จากจุดนี้ก็ทำให้ไปถึงขั้นไปทำรายการสำหรับภายในองค์กรให้พนักงานได้เรียนรู้เปิดโลกไปกับเรา ซึ่งแตกต่างจากการสัมมนาตามปกติ เพราะเหมือนเราดูรายการสนุก ๆ ไม่เหมือนมานั่งฟังสัมมนา

ส่วนเทคนิคในการเล่าเรื่อง คุณหนุ่ยทิ้งท้ายไว้ว่า มีหลักการสำคัญ นั่นก็คือ เราไม่เน้นเล่าเรื่องโกรธ แม้ปกติเราจะเห็นว่าคอนเทนท์อะไรที่มาในแนวดราม่าโกรธ ๆ คนจะสนใจ แต่เราเน้นสร้างความสงสัยและไปหาสิ่งที่สงสัยมาเล่าเรื่อง โดย เปิดให้ปิ๊ง-เล่าให้เป๊ะ ส่วนความยาว จริง ๆ บางช่องทางสามารถยาวได้ ถ้าเราทำได้น่าสนใจจริง ๆ เหมือนกับเราดูหนัง Hollywood ว่าทำไมคนทนดูได้ตั้ง 2 ชั่วโมง เพราะว่ามันสนุก น่าดูจริง ๆ ถ้าเราจะอยากทำคอนเทนท์ยาวเราต้องมั่นใจว่าเราจะดึงคนดูได้จริง ๆ ที่สำคัญทุกคอนเทนต์ต้องมัดใจด้วย Simple = เรียบง่าย / Persuasive = โน้มน้าวใจ / Youthful สดใหม่เสมอ

เมื่อคนไทยชอบเรื่องผี แล้วจะสร้างมูลค่าอย่างไรกัน?

มาสู่อีกหนึ่งช่วงสำคัญสำหรับวันนี้ นั่นก็คือช่วงของ “คอนเทนท์ผี ความเชื่อ และวัฒนธรรมในยุคดิจิทัล” โดย ป๋อง The Shock และทีม Untitled Case ที่จะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผีๆ ที่ทุกคนชอบว่าทำกันอย่างไร? แล้วจะสร้างมูลค่าเท่าไหร่กัน?

พี่ป๋องเริ่มเล่าเรื่องของวิธีการเล่าเรื่องทำยังไงให้มันไหลลื่น และยุคนี้ต่างจากเมื่อก่อนอย่างไร? ให้ฟังบนเวทีว่า สมัยก่อนรายการผมมีกติกาว่าไม่ให้เด็กเล่า อนุญาตอายุ 20 ปีขึ้นไป เพราะตอนนั้นมองว่าอาจจะลำดับเรื่องไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ และรายการมันดึก ไม่อยากให้เด็กนอนดึก แต่ในปัจจุบันไม่จำเป็นแล้ว เพราะ 15 ขึ้นไปก็เล่าได้ดี เราจึงต้องไม่เอาอายุมาเป็นมาตรฐานแล้ว ดูอย่างสมัยนี้ รายการ Podcast, YouTuber ของเด็กรุ่นใหม่ ที่เล่าเรื่องผี ๆ ก็ทำได้ดีหลายรายการเลย และอย่างในรายการของเรา ดีเจยุคหลัง ๆ ก็สามารถที่จะอ่านจดหมายเล่าเรื่องยาว ๆ มาเล่าสรุปแบบสั้น ๆ และยังคงสนุก ฟังเข้าใจง่ายอยู่

Untitled Case เล่าต่อว่า พอมาเป็นออนไลน์ การฟังจะหลากหลาย หลายคนมักทำอย่างอื่นไปด้วยฟังไปด้วย เราต้องเล่าให้ดึงสมาธิคนฟังได้จนจบ เช่นเล่าเรื่องฆาตรกร แทนที่จะเล่าประวัติฆาตรกรก่อน เราเน้นเรื่องตั้งแต่ตำรวจรับเรื่องคดีและเดือนเรื่องต่อยังไง ค่อยวนกลับมาที่ประวัติฆาตรกร เช่นเริ่มเล่าที่ “ตำรวจได้รับเรื่องจากใคร พอมาที่เกิดเหตพบมือถือมีรูปคนถูกตัดหัว”

ในส่วนของการหาผู้สนับสนุน พี่ป๋องเล่าต่อว่า สมัยก่อนเราเป็นลูกจ้างจัดรายการให้คนอื่น รายการดัง คนฟังเยอะ แต่ขายไม่ค่อยได้ จนได้ออกมาตั้งบริษัทผลิตรายการเอง โดยเริ่มมาอาศัยกับเพื่อนที่ทำรายการวิทยุ แต่สุดท้ายเขาทิ้งไปเล่นการเมือง แต่ยังมีสัญญาเช่าเหลืออยู่เลยยกเวลาให้ แต่ต้องเช่าเองต่อ ช่วงแรก ๆ เราก็พูดตรง ๆ ว่ารายการอาจอยู่ได้ไม่นาน ขอรับเงินบริจาคจากผู้ฟัง แต่ว่าพอพูดแค่นี้ กลับไปเข้าหูเจ้าของกิจการที่ชื่นชอบเรา เขาก็มาเป็นผู้สนับสนุนเลย และสปอนเซอร์ก็เริ่มเข้ามาเรื่อย ๆ

สำหรับในส่วนของ “ยชและธัญ” จากรายการ Untitled Case เล่าในส่วนของการหารายได้ในส่วนฝั่ง Podcast ว่า เราเอา Theme รายการเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งต่อการโปรโมทสินค้า เช่น การเล่าเรื่องโปรโมทสินค้าโดยอิงกับเนื้อเรื่องของรายการเรา และเราไม่มีความคิดว่าเราเก่ง นอกจากนี้ยังมีการตั้งกลุ่ม Facebook สำหรับผู้ฟังรายการ ทำให้แบรนด์มาเห็นได้อีกว่ากลุ่มคนฟังก็มาแนว ๆ เดียวกัน ดังนั้นเราสามารถทำการตลาดผ่านคอนเทนท์ให้กับกลุ่มคนฟังเหล่านี้ได้ ลูกค้าก็สนใจหันมาหาเรา เราอย่าบิดจนเลย Concept เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาเลย มีความเป็นตัวตนของตนเองให้มาก เราปลดปล่อยตัวเองให้ได้มากที่สุด แม้ต้องปรับตัวในทันยุคบ้าง แต่ก็ห้ามทิ้ง Signature ของตัวเอง คุณฟังจะรู้นี่เป็นความ Real แม้มันต้องหลุดคำหยาบออกมาบ้างก็ตาม

และพี่ป๋องแห่ง The Shock ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า ตอนนี้เวลาเราจะโปรโมทรายการที่ไหนจากแต่ก่อนบอกวิทยุเดี๋ยวนี้ต้องบอก YouTube, Facebook ก่อน
และวิทยุเป็นช่องทางเสริม เพราะจะได้เข้ากับยุคนี้ ตอนนี้เราจะออกอากาศผ่านสตรีมมิ่งก่อนคือช่วง 22.00 น. เป็นต้นไป แต่ช่วงหลังเที่ยงคืนจะมีการคู่ขนานกับวิทยุด้วย เรียกได้ว่าเอาออนไลน์มาปรับตัวตามยุคสมัยแต่ว่ายังคงความคลาสสิกให้กับกลุ่มคนที่ยังฟังแบบเดิมอยู่

ทำคอนเทนต์อย่างไรให้สนุก พบกับ Kyutae oppa , Pigkaploy

เริ่มต้นอย่างไรกับอาชีพ YouTuber Kyutae Oppa ให้คำแนะนำว่าต้องเริ่มดูก่อนเลยว่าปัจจุบัน YouTube มีคอนเทนต์แบบไหนบ้าง แล้วขาดคอนเทนต์แบบไหนอยู่ อะไรที่ยังไม่มีในไทยบ้าง อย่างการเต้นสายย่อที่มาแรงในช่วงนั้น ในช่วงเริ่มคนดูก็ไม่ได้มีเยอะมากมาย ต้องตั้งโจทย์ก่อน ต้องคิดว่าจะเริ่มทำอะไร อยากทำอะไร ในส่วนของ Pigkaploy กล่าวว่า จริง ๆ ตอนแรกเริ่มต้นด้วยการทำเพจ เขียนบทความ แล้วก็ทำมาเรื่อย ๆ พอเริ่มมีคนติดตามมากขึ้น ก็มีคนอยากให้เราทำ YouTube

มีวิธีการหาคาแรคเตอร์อย่างไร ? สำหรับวิธีการหาคาแรคเตอร์นั้นอาจจะยากสำหรับใครหลายๆ คน จริง ๆ Kyutae Oppa ให้คำแนะนำว่า ผมก็ไม่ได้คิด คนดูเป็นคนคิดหมดเลย อย่างเช่น เปิดคลิป ก็จะมีบางคอมเม้นต์บอกชอบอันนี้ๆ น่ารักดี ก็เป็นการสื่อสารได้พูดคุยกันกับแฟนคลับ ในส่วนของ Pigkaploy นั้นแนะนำต่อว่า จริง ๆ เราไม่ได้วางไว้ว่าต้องมีคาแรคเตอร์แบบไหน อย่างไร เพราะเรารู้สึกว่าทุกคนมีคาแรคเตอร์ของตัวเองอยู่แล้ว

วิธีการวางลำดับเรื่องราว แน่นอนนับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการทำคอนเทนต์ ก่อนอื่นเลยคงต้องมีการคิดไอเดียก่อนว่าจะทำอย่างไร ช่วงไหน ต้องถ่ายในวันที่เราอยากถ่ายด้วย เพราะคลิปก็จะออกมาดีถ้าเราถ่ายในตอนที่เราอยากถ่าย หรือ การเน้นให้ภาพเล่าเรื่องแทนนั้นก็นับเป็นวิธีการที่น่าสนใจ

ถ้าอยากเป็น YouTuber ต้องทำอย่างไร ? Kyutae Oppa กล่าวว่า จริง ๆ ปัจจัยของการเริ่มทำที่สำคัญที่สุดคือแรงบันดาลใจ หากเอาเงินเป็นแรงบันดาลใจถามว่าได้ไหม ? ตอบว่าได้แต่มันอาจไม่ยั่งยืนเพราะ เราต้องถามตัวเองก่อนว่าที่เราไป เพราะอะไร อยากทำ หรืออยากดังเฉยๆ นอกจากนั้น Pigkaploy ยังเสริมว่า จริง ๆ เรารู้สึกว่าอยากให้เริ่มลองทำดูก่อน ให้เป็นตัวเองที่สุด เริ่มจากความจริงใจ

ปลายทางของการทำงานแต่ละชิ้นคืออะไร Pigkaploy กล่าวว่า อยากให้คลิปที่เราทำมีคุณค่ากับคนดู แต่ท้ายที่สุดแล้ว เราอยากให้เรามีความสุข หรือ สนุกกับงาน เพราะถ้าเราไม่ได้สนุกกับงานก็คงไม่ดี Kyutae Oppa เสริมว่า ความสุขก็มีนะครับ หลังๆ รู้สึกว่ามีความสุข แล้วมันมีความหมายรึเปล่า หลังๆ ก็เริ่มคิดว่าอะไรคือสาระอะไรที่เราต้องให้คนดู อันนี้เป็นการบ้านของผมที่ต้องทำ ผมรู้สึกว่าทุกอย่างอะไรก็ต้องมีความหมาย ต้องเปลี่ยนแปลง

จากนักเขียน สู่นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ออนไลน์ และการเมืองในสื่อออนไลน์

การสร้างคอนเทนต์ในยุคก่อน เปรียบเทียบกับการสร้างคอนเทนต์ในยุคปัจจุบัน

เริ่มต้นด้วยการเล่าประสบการณ์ทำหนังสือหรือสร้างคอนเทนต์ในยุคก่อน และเปรียบเทียบกับการสร้างคอนเทนต์ในยุคปัจจุบัน โดยคุณสรกล อดุลยานนท์ (ตุ้ม) หรือ นักเขียนคอลัมนิสต์ นามปากกา หนุ่มเมืองจันท์ เล่าว่าเริ่มต้นจากการเป็นนักนักสือพิมพ์ ที่การสร้างคอนเทนต์จะมากจากการหาเรื่องราวต่างๆเพื่อนำมาสร้างเป็นการนำสกู๊ปข่าว หรือเขียนคอลัมม์ในหนังสือพิมพ์ของสำนักพิมพ์ต่างๆ

คุณสรกล ได้เล่าต่อว่าก็มีสำนวนการเขียนและวิธีเล่าเรื่องที่แตกต่างกับนักเขียนรุ่นปัจจุบัน โดยเขาได้เปรียบเทียบว่างานเขียนยุคก่อนมักจจะนำส่วนสำคัญของเรื่องราวไว้ในตอนท้าย เพื่อให้ผู้อ่านไปถึงตอนจบ ซึ่งแตกจากสมัยปัจจุบันที่ต้องนำสิ่งที่ต้องเปิดประเด็นด้วยสิ่งที่สำคัญที่สุดแทน เพื่อดึงความสนใจของกลุ่มผู้บริโภคในปัจจุบัน

เช่นเดียวกับคุณสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (เอ๋) หรือ เจ้าของนามปากกา นิ้วกลม กล่าวว่าเขาเริ่มต้นจากการแรงผลักบางอย่างที่อยากเริ่มต้นเล่าเรื่องราวผ่านตัวหนังสือ และเผยแพร่งานเขียนของเขาลงสมุดทำมือและแจกเพื่อนๆในมหาลัย ซึ่งแตกต่างกับงานเขียนยุคปัจจุบันที่มีช่องทางในการเผยแพร่งานเขียนของผู้เขียนผ่านสื่อออน์ไลน์หรือแพลตฟอร์มต่างๆ ได้มากกว่า การทำหนังสือทำมือหรือส่งต้นฉบับไปในนิตยสารเหมือนในอดีต ตัวอย่างเช่น การเขียนข้อความบนทวิตเตอร์ หรือที่เรียกว่า แฮกแท็ก ที่สามารถสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมได้เพียงวันเดียว

วิธีการสร้างคอนเทนต์ในยุคปัจจุบัน

ต่อมาในประเด็นเรื่อง วิธีการสร้างคอนเทนต์ในยุคปัจจุบัน ทางคุณสรกลเล่าว่าการสร้างคอนเทนต์ในยุคปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะผู้อ่านหรือผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเนื้อหาหรือความรู้ต่างๆง่ายได้มากขึ้น ดังนั้น จึงต้องหาจุดเด่นหรือข้อได้เปรียบของตัวเองในการสร้างคอนเทนต์หนึ่งๆขึ้นมา โดยคุณสราวุธได้ใช้ความสนใจและประสบการณ์ทางการเมืองในอดีตของตนเอง เป็นจุดเด่นในการเล่าเรื่องผ่าน podcast แทน

สำหรับคุณสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (เอ๋)  กล่าวว่าเขารู้สึกว่าเส้นแบ่งระหว่างการเล่นกับทำงานมันอยู่ใกล้กันมาก เช่น เราสามารถนำความชอบอ่านหนังสือมาเล่าเป็นเรื่องราวต่างๆให้คนอื่นๆฟังได้ ดังนั้นจึงสามารถนำควาชอบต่างๆมาสร้างคอนเทนต์ได้ โดยคุณนิ้วกลมกล่าวเสริมว่า อยากให้ทดลองทำสิ่งต่างๆที่ไม่เคยทำ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับความเสี่ยงกับการทดลองทำงานให้สิ่งที่ตนเองไม่เคยทำมาก่อนด้วยเช่นกัน

การสื่อสารในยุคใหม่ในเรื่องการเมือง

สรกล อดุลยานนท์ (ตุ้ม) รู้สึกประทับใจกับการสื่อสารของกลุ่มม๊อบยุคในยุคปัจจุบันมาก เพราะเขารู้สึกว่าการเคลื่อนไหวของทุกม๊อบมีเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยในการสื่อสารที่ทำให้แต่ละสามารถสร้างแรงขับเคลื่อนได้ และแต่ละม๊อบเองก็มีจุดยืนที่เหมือนและความต่างกันออกไป

มุมมองต่อเรื่องสื่อในอนาคต

ต่อมาในมุมมองต่อเรื่องสื่อในอนาคต คุณสราวุธ กล่าวว่า สื่อปัจจุบันส่วนมากจะสร้าง Fillter Bubble ให้กับผู้อ่าน นั้นคือ การอยู่ในสื่ออนไลน์ที่สะท้อนแต่มุมมองที่ตัวเองสนใจ ซึ่งน่าสนใจว่าการที่สื่อมุ่งแต่จะสร้างให้คนในสังคมอยู่แต่ใน Bubble หรือโลกของตัวเองนั้น จะนำสังคมไปสู่อะไร และพื้นที่สื่อกลางที่ใช้สำหรับถกเถียงของกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นต่างกันจะอยู่ตรงไหน

ส่วนคุณสรกล  เชื่อว่าสื่อเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในยุคปัจจุบันที่สื่อใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เล่าเรื่องราวต่างๆ แต่ในมุมมองของคุณสรกลต่อเรื่องสื่อกับปัญหาทางสังคม เขาเชื่อว่าปัญหาในสังคมสามารถแก้ไขด้วยกลไกต่างๆของสังคมเองอยู่แล้ว

อยากเป็น content creator ต้องทำยังไง

ทางคุณสราวุธ กล่าวว่า เติบโตมากับการที่สื่อสามารถครอบครองพื้นที่และกลุ่มผู้บริโภคได้มาก แต่ในปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคเลือกสนใจคอนเทนต์เฉพาะกลุ่มมากขึ้น ทำให้การเป็น content creator  ต้องใส่ใจและพยายามหากลุ่มผู้บริโภคที่จะให้มาให้ความสนใจกับคอนเทนต์ของตนเองมากกว่า

คุณสรกล เห็นด้วยกับคุณเอ๋ โดยมองว่าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ทำให้การสื่อสารและการเป็นเป็น content creator ง่ายขึ้นกกว่าเดิมมาก จุดสำคัญคือการพยายามหาจุดความถนัดของตัวเองในการมัดใจกลุ่มเป้าหมายของเรา

ติดตามการสรุปงาน iCreator Conference 2020 ได้ตลอดทั้ง 3 วันทาง Facebook : ส่องสื่อ

ส่องสื่อ เป็น 1 ใน Media Partner ของงาน iCreator Conference 2020