fbpx

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรม Umay+ MONEY FITNESS SEASON 2  ภายใต้หัวข้อ “ใช้เงินยังไง…ให้อยู่เป็น” การประกวดสตอรี่บอร์ดเพื่อนำไปผลิตหนังสั้น ไม่เกิน 3 นาที ชิงทุนการศึกษารวมกว่า 150,000 บาท ที่จัดโดย บมจ.อีซี่บาย ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส (Umay+) และบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส พรีเมียร์ (Umay+ Premier) โดยมีนิสิต นักศึกษาให้ความสนใจ ส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 200 ทีม จาก 27 มหาวิทยาลัย และหลังจากนั้นจึงคัดเลือก 10 ทีมเข้ารอบสุดท้าย พร้อมมอบประสบการณ์เวิร์คช็อปให้เป็นนักเล่าเรื่องที่ดี ก่อนจะคัดเลือกทีมผู้ชนะเลิศที่ทำสตอรี่บอร์ดที่มีไอเดียสุดเจ๋งเพียงหนึ่งเดียว เพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตหนังสั้นโฆษณาอย่างมืออาชีพกับบริษัทโปรดักชั่นเฮ้าส์ระดับแนวหน้าของเมืองไทย

ในงานนี้ได้ คุณอู๋ วีรยุทธ ล้อทองพานิชย์, คุณกอล์ฟ จิรายุ อาจสำอางค์, คุณเสือ พิชย จรัสบุญประชา และ คุณเก้า จิรายุ ละอองมณี  กรรมการรับเชิญ เดินทางมาตัดสินผลงาน ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ โดย มร.ทาเคโอะ โนดะ (Mr.Takeo Noda) ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เผยว่า Umay+ จัดกิจกรรมนี้มาต่อเนื่อง ปีนี้เป็นปีที่ 8 แม้ปีนี้จะมีเรื่องของสถานการณ์โควิด-19 เข้ามาทำให้กิจกรรมต้องขยายเวลาออกไป แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไร เรียกว่าได้รับความสนใจและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีผลงานที่ส่งเข้ามาร่วมประกวดจากนิสิต นักศึกษาทั้งหมด 27 สถาบัน รวม 200 ผลงานซึ่งแต่ละผลงานก็มีคุณภาพ มีความตั้งใจเป็นที่น่าชื่นชม

สำหรับผลงานที่ส่งมามีการแสดงความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการทำสตอรี่บอร์ดตรงกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่ต้องการกระตุ้น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านการเงินให้กับเยาวชนไทย โดยมีน้อง ๆ นิสิต นักศึกษาซึ่งถือเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ทำการถ่ายทอดเรื่องราวแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารการเงินในแบบฉบับที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายเพื่อจะได้นำความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการเงินมาปรับใช้ในชีวิตได้จริง และท้ายสุดเพื่อนำไปผลิตหนังสั้น กับผู้กำกับมากประสบการณ์ออกมาเป็นผลงานให้ได้รับชมกัน

โดยกิจกรรม ยูเมะพลัส มันนี่ ฟิตเนส ซีซั่น 2 ครั้งนี้มุ่งเน้นในการสร้างวินัยทางการเงินที่ดีผ่านการเรียนรู้การบริหารจัดการเงินให้กับนิสิต นักศึกษาที่กำลังจะก้าวสู่ชีวิตการทำงานอย่างเต็มตัว ซึ่งหลังจากนี้ผลงานที่ชนะเลิศจะถูกนำไปผลิตหนังสั้น อยากฝากให้ทุกท่านช่วยติดตามผลงานของน้อง ๆ ซึ่งจะถูกนำไปเผยแพร่ผ่านช่องทาง SNS อาทิ เฟสบุ๊ค Umay+ official , I love EASY BUY และ Website: Umayplusmoneyfitness.com และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานของน้อง ๆ นิสิต นักศึกษาจะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการทางการเงินในแบบฉบับคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น และความรู้เหล่านี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในยุค New Normal ได้

ท้ายสุดต้องขอขอบคุณสื่อมวลชนและผู้สนับสนุนทุก ๆ ท่านที่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมนี้ครับ Umay+ ยังคงสานต่อกิจกรรมดี ๆ เช่นนี้อย่างต่อเนื่องและหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากคนไทยทุก ๆ คนอีกในโอกาสต่อไป

สำหรับผลการตัดสินรางวัลชนะเลิศ ยูเมะพลัส มันนี่ ฟิตเนส ซีซั่น 2 ได้รับทุนการศึกษา 100,000 บาท พร้อมร่วมผลิตหนังสั้น กับ WinkWink Production (วิ้ง วิ้ง โปรดักชั่น) และ Dexter Bangkok  (เด็กซ์เตอร์ แบงค์ค็อก) ได้แก่ ทีมนาตาชา โรมานอฟ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในชื่อผลงาน “อย่าแกงตัวเอง” โครงเรื่อง เมื่อหญิงสาวที่ชอบคิดไปเองอย่างคาริชา ต้องมาประสบชะตากรรมอันโหดร้ายกับเงินในบัญชีอันน้อยนิดหลังเรียนจบ แต่ด้วยความเชื่อของเธอที่ว่า ถ้าจะได้ทำงานในบริษัทแฟชั่นที่เธอชอบ เธอจะต้องหน้าตาดีเสียก่อน เธอจึงตัดสินใจไปกู้เงินมาก้อนหนึ่งเพื่อหวังทำศัลยกรรมให้สวยเพื่อเข้าทำงาน  และหวังจะจ่ายหนี้คืนอย่างเร็วหลังเงินเดือนออก แต่ด้วยเพราะความคิดไปเองของคาริชา ทำให้เกิดปัญหาตามมา

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม รูด ปื๊ด ปื๊ด จาก ม.ศิลปากร ในชื่อผลงาน Timeline ไม่ คิด และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีมซีอิ้ว จาก ม.กรุงเทพ ในชื่อผลงาน คัมภีร์พระตังค์ซัมจั๋ง สำหรับรางวัลชมเชย ได้แก่ทีม สามเส้า จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และ ทีมอันเดอร์ ดรีม จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 

สำหรับความเห็นของคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้กำกับหนังโฆษณาและโปรดักชั่นเฮ้าส์ชั้นนำ อย่าง คุณอู๋ วีรยุทธ ล้อทองพานิชย์, คุณ กอล์ฟ จิรายุ อาจสำอางค์, คุณ เสือ พิชย จรัสบุญประชา, คุณตือ ศิวกร จารุพงศา ก็ได้ให้แนวคิด “อยากคิดพล็อตหนังให้ปัง ต้องทำยังไง” ไว้ว่าการทำหนังสั้นยุคโซเชียล ซึ่งผู้ชมมีเวลาสนใจน้อย บวกกับสิ่งเร้าความสนใจภายนอกเยอะ เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่คนเบื้องหลังหนังโฆษณาต้องกระตือรือร้นทุกวัน โดยหลีกคีย์ความสำเร็จในแต่ละยุคสมัย หัวข้อไม่เปลี่ยนไป เพียงแต่ปรับตามบริบทดังนี้ “1. ต้องตอบโจทย์ 2. มีอินไซด์ 3.ประเด็นเข้าใจง่าย 4. รู้ว่าสื่อสารกับใคร 5. ไอเดียต้องมา”

“ยุคนี้การสื่อสารต้องเปลี่ยน เพราะในโลกออนไลน์ทุกคนต้องการเข้าใจอย่างเร็ว เปิดออกมาแล้วทุกคนต้องเข้าใจว่าเรื่องเป็นแบบไหน อะไรที่ย่อยง่ายและเร็วที่สุด ผู้ชมจะใช้เวลาดูหนังสั้นแต่ละยุค ก็ไม่เหมือนกัน สูตรสำเร็จในแต่ละยุค เอามาก็อปปี้แล้ววางไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับอินไซด์ของผู้ชมช่วงนั้น เขาทำอะไรกันอยู่ เขาอินกับเรื่องอะไร ที่สำคัญตลาดโซเชียล ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น อะไรที่อยู่กับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่กำลังมา วัยรุ่นจะสนใจและทำความเข้าใจ อย่างที่ผ่านมา ถ้ามีกลิ่นอายเกี่ยวกับโควิด หยิบสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เขากำลังสนใจมาบอกเล่า ผ่านเรื่องราวที่เราต้องการจะสื่อ คนก็จะให้ความสนใจและเก็ทได้โดยเร็ว”

ส่วนคำถามที่ว่า “ปังจริงไม่อิงยอดวิว วัดจากอะไร?” คนวงในทั้งสี่ตอบว่า “ปังจริง วัดจาก ความแปลกใหม่ ความน่าสนใจ เนื้อหาถูกต้อง ต้องมาก่อน ตอบโจทย์ว่าคุณกำลังจะเล่าเรื่องอะไร โดยเฉพาะหนังสั้นประกวด แต่ละหัวข้อ ทำมาตอบโจทย์แค่ไหน อยากพูดเรื่องการออม แต่คุณไปเล่าสโลว์ไลฟ์ มันไม่ไปด้วยกัน ต้องพูดเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อ อยู่กับประเด็น บนถนนเส้นหลัก อย่างหลงเข้าซอย พูดเรื่องเดียวกันนี้แหละ แต่จะสร้างความแตกต่างให้กับเรื่องตัวเองได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ”

ทั้งนี้สามารถติดตามผลงานหนังสั้นของทีมชนะเลิศ ว่าจะปังไม่ปัง  ได้ที่ www.umayplusmoneyfitness.com เฟสบุ๊ค I love EASY BUY