fbpx

จากกรณีที่มีข่าวลือว่าจะมีการยุติกิจการของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด ในฐานะผู้ถือใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25 นั้นล่าสุดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัทร่วมการค้าจีเอ็มเอ็ม 25  ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงกรณีการถือหุ้นที่เกิดขึ้น และมติของคณะกรรมการบริษัท โดยคณะกรรมการบริษัทมีมติให้ดำเนินการจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จํากัด (มหาชน) สำหรับขายหุ้นในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จํากัด ในฐานะบริษัทที่เน้นการลงทุนในธุรกิจร่วมการค้าจีเอ็มเอ็ม 25 และการเข้าทําสัญญาแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสถานีโทรทัศน์ช่อง GMM25 และสัญญาให้ใช้ชื่อรายการโทรทัศน์และการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสถานีโทรทัศน์ช่อง GMM25 ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จํากัด

นอกจากนั้นยังมีมติในการได้มาซึ่งทรัพย์สินของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จํากัด (มหาชน) สําหรับการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จํากัด ผู้ถือใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25 บริษัท คอนเทนต์ แอนด์ อาร์ตติสท์ เน็ตเวิร์ค จํากัด และ บริษัท เอ-ไทม์ ทราเวิลเลอร์ จํากัด ซึ่งแต่เดิมบริษัท จี เอ็ม เอ็ม โฮลดิ้ง จํากัด เป็นผู้ถือหุ้น และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่จํากัด (มหาชน) แก่ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จํากัด

โดยในรายละเอียดมีการแจ้งไว้ว่า บริษัทจะมีการตกลงในการขายหุ้นบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จํากัด ในอัตราร้อยละ 50 ที่จำหน่ายไปแล้วทั้งหมด ในมูลค่าหุ้นละ 120 บาท รวมทั้งหมด 1,200 ล้านบาทให้แก่ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นการลงทุนในกลุ่มช่องวัน 31 ซึ่งในการขายหุ้นนี้จะมีการปรับโครงสร้างบริษัทที่ GMM Channel Holding ถือหุ้นอยู่ก่อนการขายหุ้นให้ The One Enterprise ซึ่งถ้าการซื้อขายหุ้น GMM Channel Holding ระหว่างบริษัทฯ กับ The One Enterprise และบริษัท สิริดํารงธรรม จํากัด ไม่สําเร็จ การปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท GMM Channel Holding ดังกล่าวจะเป็นอันยกเลิกไป

อีกทั้งบริษัทฯ จะดำเนินการให้บริษัท จี เอ็ม เอ็ม โฮลดิ้ง จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ดำเนินการซื้อหุ้นในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จํากัด ผู้ถือใบอนุญาตเพื่อดำเนินกิจการช่องจีเอ็มเอ็ม 25 จาก GMM Channel Holding และผู้ถือหุ้นเดิมของ GMM25 จำนวน 20,920,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ของหุ้นที่จําหน่ายแล้วทั้งหมดของ GMM25 ในราคา 1 บาท ซึ่งหลังจากนั้นทางจี เอ็ม เอ็ม โฮลดิ้ง จะทำการซื้อหุ้นจากกลุ่มจีเอ็มเอ็ม 25 เดิมที่ถืออยู่ใน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท คอนเทนต์ แอนด์ อาร์ตติสท์ เน็ตเวิร์ค จํากัด และ น บริษัท เอ-ไทม์ ทราเวิลเลอร์ จํากัด ให้มาอยู่ในโครงสร้างของจี เอ็ม เอ็ม โฮลดิ้งแทน

โดยถ้าการซื้อบริษัทสำเร็จไปได้ด้วยดี โครงสร้างของการบริหารงานจะมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จํากัด จะอยู่ภายใต้โครงสร้างกิจการร่วมการค้าของ The One Enterprise แทน ซึ่งภายใต้โครงสร้างใหม่นี้ GMM Channel Holding จะถือหุ้นบริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด ,บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด , บริษัท เช้นจ์2561 จํากัด , บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด(มหาชน) ซึ่งถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด อีกทีหนึ่ง

นอกจากนั้น คณะกรรมการบริษัทยังมีมติให้เข้าทำรายการจําหน่ายไปซึ่งสิทธิในการทำการตลาดการดำเนินการช่อง 25 ให้แก่ GMM Channel Holding โดยจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัทฯ จําหน่ายหุ้นทั้งหมดของ GMM Channel Holding ให้แก่ The One Enterprise โดย GMM25 ในฐานะบริษัทย่อยของบริษัท ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล

สำหรับกรณีการเข้าทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสถานีโทรทัศน์ช่อง GMM25 และสัญญาให้ใช้ชื่อรายการโทรทัศน์และการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาระหว่าง GMM25 กับ GMM Channel Holding สำหรับการดำเนินรายการทางสถานีโทรทัศน์ช่อง GMM25 โดย GMM25 จะทำการจัดสรรรายได้บางส่วนไว้เท่ากับร้อยละ 30 ของรายได้ที่เป็นผลมาจากการดําเนินงานตามสิทธิในการทำการตลาดการดำเนินการช่อง 25 โดยรายได้ในส่วนที่ GMM25 จะจัดสรรไว้ จะไม่เกิน 70 ล้านบาทต่อปีนับตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 และสิ้นสุดเมื่อใบอนุญาตของสถานีโทรทัศน์ช่อง GMM25 ครบระยะเวลาตามที่กหนด (รวมถึงช่วงที่มีการต่ออายุ) ซึ่งปัจจุบันใบอนุญาตดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 24 เมษายน 2572 ดังนั้น โดยรวมแล้วตลอดระยะเวลา 8 ปี 4 เดือน GMM25 จะได้รับรายได้จากการจัดสรรข้างต้นรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 583,333,333 บาท นอกจากนี้ GMM25 จะได้รับค่าตอบแทนการแต่งตั้งตัวแทนการตลาดจํานวน 67,000,000 บาท ภายในปี 2563

เปิดกลยุทธ์การปั้นแบรนด์ “GMM 25” “คลับฟรายเดย์” ขึ้นแท่นคอนเทนต์ คิลเลอร์  | Positioning Magazine

และคณะกรรมการบริษัทยังมีมติให้ความช่วยเหลือทางการเงินของบริษัทฯ โดยค้ำประกันเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ในสัดส่วนร้อยละ 31.27 หรือไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินกู้จํานวน  2,200,000,000 บาทให้กับ The One Enterprise เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของ The One Enterprise สำหรับนําไปชําระราคาซื้อขายหุ้น GMM Channel Holding ของธุรกรรมการขายหุ้น GMM Channel Holding โดยการค้ำประกันดังกล่าวของบริษัทฯ คิดเป็นวงเงินค้ำประกันจำนวนสูงสุดไม่เกิน1,100,000,000 บาท

โดยสรุป ช่องวัน 31 จะช่วยเข้ามาถือหุ้นในกลุ่มช่องจีเอ็มเอ็ม 25 โดยแกรมมี่ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และให้สิทธิ์แก่ช่องวัน 31 ในการดำเนินการใช้สิทธิ์ทั้งตัวรายการและเครื่องหมายทางการค้าช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ซึ่งจะได้รับส่วนแบ่งร้อยละไม่เกิน 30 แต่ไม่เกิน 70 ล้านบาท/ปี ซึ่งการได้รับสิทธิ์ทำการตลาดย่อมรวมไปถึง การจัดผังตามข้อกำหนด กสทช. การหาลูกค้า จัดจำหน่ายเวลาในช่อง หาผู้ว่าจ้างผลิตรายการ และดำเนินการให้คำแนะนำในการดูแลช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ด้วย และยังปรับโครงสร้างใหม่ของจีเอ็มเอ็ม แชนแนลอีกด้วย แน่นอนว่าถ้าท่านอ่านถึงบรรทัดนี้ ก็จะเห็นได้ชัดว่าจะไม่มีการปิดบริษัทแต่อย่างใด รวมไปถึงยุติการออกอากาศอีกด้วยครับ

ซึ่งโครงสร้างการบริหารงาน และรายชื่อกรรมการบริษัท สามารถติดตามได้ทางด้านล่างนี้เลยครับ หรืออ่านได้ทาง ที่นี่

แก้ไข ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2563