fbpx

พลิกมุมกลับ ปรับมุมมองช่อง 3 และการกลับมาถิ่นมาลีนนท์ของ “สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์”

เรียกได้ว่าสถานการณ์ทีวีดิจิตอล ยิ่งผ่านครึ่งทางมากเท่าไหร่การแข่งขันก็ยิ่งดุเดือดมากขึ้นทุกปี ล่าสุดไทยทีวีสีช่อง 3 ก็ได้จัดงาน “เปิดวิกบิ๊ก 3 THE NEW NORMAL” ขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยเป็นครั้งแรกที่ “สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์” กรรมการผู้อำนวยการสายธุรกิจโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนอีกด้วย งานนี้ส่องสื่อจึงขอดึงตัวมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับทิศทางของคอนเทนต์และการดำเนินงานในปี 2564 กันครับ

ทิศทางคอนเทนต์ในปี 2564 ของไทยทีวีสีช่อง 3

ช่อง 3 ของเราในปีหน้าค่อนข้างที่จะรุก จากปีนี้ที่มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้สถานีเรารุกได้ไม่เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมาเจอโควิด-19 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่เราจะต้องทำงานที่บ้านกัน ทั้งเอเจนซี่ก็ทำงานที่บ้านกันหมด เลยทำให้สถานีไม่สามารถทำรายการใหม่ ๆ ออกมาได้ บวกกับทางคนลงทุนโฆษณาเราในอุตสาหกรรมก็แน่นอนที่ถอนงบโฆษณากัน สถานีก็เช่นเดียวกันก็ต้องที่ปรับตัว ทุกสถานีก็ต้องทำตัวเหมือนกันหมด ที่ปรับตัวกันในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือช่วงโควิด-19 เราก็จะเห็นว่าทุกสถานีจะกลับมาใช้รายการรีรันเป็นส่วนใหญ่ ช่อง 3 เราเอาที่มีละครค่อนข้างที่จะหลากหลาย ค่อนข้างที่จะมาก ก็ถือว่าเรามีโอกาสดีกว่าช่องอื่นที่อาจจะไม่มีปริมาณสต็อกมากพอของรายการที่จะเอามารีรัน เราก็จะมองเห็นรูปแบบละครที่ค่อนข้างฮิตกลับมารีรันใหม่ในช่วงโควิด-19 เราเองก็ค่อย ๆ เติมละครที่เป็น first run ตามมาเรื่อย ๆ

ตั้งแต่กรกฎาคม เราก็ละคร first run มา 1 เรื่องตอนหลังข่าว จากที่แต่ก่อนละครของเราเป็น first run หมด พอถึงเดือนสิงหาคมเราก็เพิ่มมาอีก 1 เรื่อง พอถึงเดือนกันยายนก็ครบ 3 เรื่องก็กลับมาชีวิตปกติ เพราะฉะนั้นช่อง 3 เราเอง ชีวิตของเรากลับมาปกติ หลังจากที่มีผลกระทบของโควิด-19 คือประมาณเดือนกันยายน ซึ่งมันสะท้อนผลประกอบการที่เราส่งแถลงการณ์การให้กับตลาดหลักทรัพย์ไปว่าผลประกอบการของเราก็กลับมาดี ซึ่งในขณะเดียวกันสิ่งที่ช่องทำค่อนข้างที่จะเป็นปฏิบัติต่อไปรวมถึงปี 2564 ด้วย

ผมคิดว่าทุก ๆ บริษัทจะต้องคำนึงถึงเรื่องการกลับมาอีกครั้งของโควิด-19 อีกครั้งรึเปล่า? เราอาจจะต้องคำนวณถึงเรื่องของสถานการณ์ ความมีเสถียรภาพของเราในเรื่องของการเมือง หรือเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวไหม? เพราะเศรษฐกิจบ้านเราขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ทำให้สถานีจำเป็นที่จะต้องควบคุมถึง 2-3 อย่าง

ในปีหน้าสิ่งที่เราทำ อันแรกเลยในปี 2564 สิ่งที่ช่อง 3 จะทำเราจะเน้นคุณภาพของรายการ เราอยู่ในธุรกิจที่เป็นคอนเทนต์ ยังไงก็แล้วแต่คอนเทนต์คือสิ่งที่สำคัญที่สุด เราอาจจะลดค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ในส่วนหนึ่งจะเห็นว่าเราปรับลดขนาดขององค์กรลง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปีข้างหน้า ในขณะเดียวกันเราก็ลดต้นทุนบางอย่างที่ไม่จำเป็นของสถานีออกไป สิ่งหนึ่งที่เราพยายามรักษาไว้คือ คุณภาพของรายการที่จะต้องไม่ Drop ไม่ว่าสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลจะเหลือแค่ไหนแล้วแต่ ในที่สุดแล้วเราไม่ได้แข่งกับจำนวนของสถานีว่าเหลือมากน้อย เราแข่งว่าใครมีคุณภาพของรายการที่ดีกว่ากัน ช่อง 3 เรามีรายได้หลักของเรามาจากบันเทิง บันเทิงหลักของเราคือละคร ปีนึงเราสร้างละครถึง 30-40 เรื่อง เพราะฉะนั้นถ้าหากเราเน้นตัวละครของเราให้ได้ดี ผมยกตัวอย่างในเดือนตุลาคมเรามีละครที่ดี ช่องเราก็กลับมาดึงความเป็นช่องเบอร์หนึ่งในตลาดกรุงเทพฯ หัวเมืองได้ เรามีละครอย่างเช่นเรื่องร้อยเล่ห์มารยาออกมา

ละคร “ร้อยเล่ห์มารยา”

ในขณะที่ปี 2564 ผมคิดว่าเราทำมาเราจะต้องยกมาตรฐานจากปีนี้ คุณภาพของละคร แนวทางของการทำละคร และวิธีการในทำละคร ผมคิดว่าเดี๋ยวนี้หลาย ๆ อย่างมันเปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าเราจะทำคอนเทนต์ออกมาเป็นละครหลาย ๆ สิบปีแล้ว เราก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำละครแบบเดิม ๆ ลักษณะเดิม ๆ มันยังคงเป็นละครอยู่ แต่วิธีการทำงานของผู้จัด การคัดเรื่องดารา เนื้อเรื่อง เส้นเรื่อง หลาย ๆ อย่าง ผมว่ามันจะตามยุคตามสมัยเข้าไปด้วย สิ่งที่มันดีในสำหรับปีหน้า นอกจากละครที่เราเน้นแล้ว เรายังมีเรื่องของข่าว ซึ่งหลายท่านก็จะเห็นในช่วงที่ผ่านมา 2-3 ปี ช่องเรามีความโดดเด่นของข่าวลดลง แต่มันธรรมชาติของธุรกิจ เพราะว่าช่วงที่เป็นข่าวก็โหมข่าวเต็มที่ คนที่อยากดูข่าวจะติดตามช่องข่าว คนที่ชอบภาพยนตร์ก็จะติดตามช่องภาพยนตร์

สิ่งหนึ่งที่มองเห็นชัด ๆ ก็คือ พฤติกรรมการรับชมของคนดูเปลี่ยนไป ในขณะที่ช่อง 3 ร่างภาพรวม ๆ ของช่อง 3 ที่เป็นช่องที่ไม่ได้เน้นทางใดทางหนี่ง เพียงแต่ว่าความสำคัญอยู่ที่ละคร อยู่ที่วาไรตี้ และอยู่ที่ข่าว เราไม่ได้เป็นช่องใดช่องหนึ่ง ไม่ใช่แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ สิ่งที่เราจะทำในปี 2564 คือละครเราจะเด็ด ข่าวของเราจะต้องกลับมาดัง ข่าวเราจะกลับดังอย่างไร ผมคิดว่าบ้านเราที่ดูข่าวส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของความสุขุมใหม่ คนที่เป็นคนนำเสนอข่าวให้กับผู้ชมทางบ้าน ผมว่าการปรับการนำเสนอของฝ่ายข่าวเราก็มี ผมคิดว่าไตรมาสต้นปีหน้าอาจจะชัดเจนขึ้น วันนี้อาจพูดได้แค่แนวทางของการทำข่าว

แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือแนวข่าวเราในการนำเสนอ รวมถึงพิธีกรเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย เราคงไม่สามารถเดินวิธีเดิมได้ แต่ว่าความเป็นข่าว มีกลุ่มเป้าหมายมี Target มันชัดเจนขึ้น ทั้งข่าวเช้า บ่าย เย็น ไม่เป็นลักษณะเดิมที่เราเคยเห็น จะปรับเปลี่ยนในตรงนั้น ส่วนของวาไรตี้ ในปัจจุบันรายการวาไรตี้นั้น ถ้าสังเกตมันจะมีความนิยมลดลงกันค่อนข้างเยอะ เนื่องจากมีช่องทางที่เสพวาไรตี้มีเยอะ ดูจากที่ไหนก็ได้ ถ้ารายการของเราไม่แปลก รายการของเราเดิม ๆ รายการของเราที่คนดูสามารถทำนายได้ ผมคิดว่ารายการเหล่านั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จมันก็จะยาก ซึ่งในปีหน้าผมว่าวาไรตี้โปรแกรม เราก็คงที่จะคุยกันมากขึ้นกับผู้จัด ซึ่งผู้จัดเรายังเป็นชุดเดิม รายการของเราที่ประสบความสำเร็จที่เราทำกับเจ้าของคอนเทนต์ อย่างเช่น เรามีศึก 12 ราศี 3 แซ่บ เรามีตีท้ายครัว ผลคิดว่ารายการเหล่านั้นเป็นรูปแบบปกติ แต่ว่าเป็นมันเป็นต้นแบบของรายการที่คนอื่นเอาไปทำตาม ซึ่งรายการแบบนี้ยังอยู่ได้ มันก็ยังแข็งแรง แต่ไม่แข็งแรงเท่าในอดีต แต่ยังเป็นกำลังสำคัญของช่อง ที่เราจะทำ เราจะหารายการแบบนี้ขึ้นมาแบบนี้ได้อีกไหม? เพราะฉะนั้นในปีหน้าเราจะได้พบความหลากหลายของรายการ ผ่านมิติของผู้จัดที่หลากหลายมากขึ้น

ในส่วนของธุรกิจในปีหน้า หลายท่านมองว่าเราเป็นธุรกิจที่เป็น Sunset เราอยู่ในธุรกิจทีวี เราอยู่ในธุรกิจที่ทุกคนดูน้อยลง ใคร ๆ ไม่เปิดทีวี แต่ถ้าหากเราสังเกตดูคนอาจไม่ดูทีวี ไม่เปิดทีวี แต่ทุกคนอาจดูรายการบนเครื่องมืออื่นๆ โดยสรุปของมันแปลว่ายังดูรายการทีวี แต่เปลี่ยนจากทีวี เป็นโทรศัพท์มือถือ หรือว่าคอมพิวเตอร์ที่ออฟฟิศ ไม่ต้องรีบกลับบ้าน หรือดูในคอมพิวเตอร์ก็ได้ หรืออยู่ที่บ้านดูทีวี ที่รับจากอินเทอร์เน็ตผ่านบนทีวี คือว่าเทคโนโลยีทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้หมด แต่ในขณะเดียวกัน รายการในทีวี ไม่ว่าจะละคร ข่าว ก็ยังเป็นอะไรที่ดีกว่ามีเดียใหม่ๆ ที่ทุกคนนิยมเสพ

ในส่วนของเราในปีหน้ารูปแบบที่เรียกว่า single content multiple platform ก็จะเข้ามาเสริม ซึ่ง single content แปลว่าเราทำละครหนึ่งครั้ง แต่เราสามารถออกไปหลาย platform ซึ่ง platform ที่ออกไปเราเรียกว่าหลายช่องทาง ในอดีตเราทำละครออกมาปุ๊บ มันออกทางหน้าจอทีวี มันขายโฆษณาเสร็จ อย่างมากก็ออกมาเป็นรีรัน ดีขึ้นกว่านั้นหน่อยเป็น DVD Home Video ในปัจจุบันหาร้านซื้อไม่ได้ เพราะสังคมมันเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือพวกสื่อใหม่ พวกอินเทอร์เน็ต พวก Broadband ที่วิ่งเข้าบ้านคนหมด ดูทีวีที่บ้านอย่างไม่กระตุก ดูทีวีเป็นชั่วโมง ดูอะไรก็ชัดเจน เพราะเทคโนโลยีทำให้เราสามารถเข้าถึงรายการของทีวีได้ง่ายขึ้น เราเลยเอาตรงนั้นมามองเป็นโอกาสมากกว่าที่จะเป็นอุปสรรคในการทำงานเรา มากกว่าจะบอกว่าทีวีเราของเรามีคนดูน้อยลง รายได้โฆษณาน้อยลงด้วยก็จริงส่วนหนึ่ง

แต่ที่มันดีเพิ่มขึ้น 2 ส่วนก็คือ อันที่หนึ่ง เราได้รายได้จากธุรกิจสื่อใหม่ ธุรกิจสื่อใหม่ในปัจจุบันจะเห็นว่าละครของช่อง 3 เราไม่ได้ดูแค่ในช่อง 3 อย่างเดียว จบไปสองชั่วโมง เราก็ไปดูใน LINETV บางครั้งบางเรื่องออกสดที่ WeTV เราขายออกไปที่ทรูไอดี ที่เขาเอาละครช่องที่คลาสสิคตั้งหลายสิบปี เราโชคดีที่ทำละครปีนึง 30 – 40 เรื่อง เราอยู่ในธุรกิจมาหลายสิบปี เพราะฉะนั้นเรามีละครเป็นพันเรื่อง เรื่องนึง 20 – 30 ชั่วโมง ทำให้เรามีตั้งหลายหมื่นชั่วโมงของตัวคอนเทนต์ที่ไม่มีบริษัทไหนที่มีเท่าเราในประเทศไทย สิ่งเหล่านั้นมันกำลังจะกลับหาเรา

ยกตัวอย่างเช่น อีกหน่อยแฟนคลับของคุณณเดชน์ เขาดูคุณณเดชน์ในตอนนี้ ที่เป็นไอดอลเขา เขาคงอยากที่จะรู้จักคุณณเดชน์ในอีกมิติหนึ่ง เราอาจจะมี platform มารองรับที่เรียกว่า CH3+ เราจะเป็นช่อง 3 ที่อยู่บนออฟไลน์ เราจะมี CH3+ ที่อยู่ออนไลน์ CH3+ เป็นอะไรที่เราก็จะได้ดูทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับละคร คุณก็จะดูง่ายในเทคโนโลยีในปัจจุบัน คุณกดคุณณเดชน์ทีเดียว คุณดูคุณณเดชน์ได้ทุกเรื่องเลย มันโผล่มาหมด เลือกดูตอนไหน คุณก็เลือกดูได้ คุณอยากจะมี Interactive กับเขาก็ได้ คุณอยากไปงาน Fan Meet & Greet ก็ได้ มันจะอยู่ในนั้นหมดเลย อันนี้ผมพูดถึงแค่ดาราหนึ่งคน แต่บังเอิญเรามีดาราระดับ A list เรามีอยู่เยอะมาก และดาราหน้าใหม่เราก็มีอยู่เยอะมาก

ในข้างหน้าช่อง 3 มันจะไม่ใช่แค่ช่องที่เคยมีวิสัยทัศน์ว่าช่อง 3 เป็นสถานีโทรทัศน์อันดับหนึ่งของประเทศไทย วิสัยทัศน์เราก็เปลี่ยนไป บอร์ดของช่อง 3 ก็ขึ้นอนุมัติมาว่าต่อไปเราไม่ได้ดูตัวเราเองเป็นสถานีโทรทัศน์อย่างเดียว เรามองว่าเราเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ขนาดใหญ่ เราจะเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ที่เป็นบันเทิง ไม่ว่าบันเทิงนั้นจะเป็นละคร เป็นวาไรตี้ หรือแม้กระทั่งรูปแบบของข่าว เพราะฉะนั้น วิสัยทัศน์ของเราเปลี่ยนไปแน่นอน กว้างขึ้น

ทีนี้เราอาจมีวิสัยทัศน์เหมือนบางบริษัท แต่ไม่มีคือทรัพยากรในการที่จะทำให้วิสัยทัศน์เราเป็นจริง ที่ช่อง 3 ของเรามีทุกอย่างทุกอย่าง เรามีดารา A list เรามีผู้จัดที่แข็งแรงที่ไม่ได้เป็นแค่ผู้จัด แต่เราเรียกว่าเป็นพันธมิตรกับเรา เพราะเขาทำงานพิเศษให้เรา เขาไม่เคยไปอยู่ที่อื่น เรามีดาราที่เซ็นต์ในสังกัดของเรา ถึงจะไม่ใช่ดาราที่สังกัดเราบางคน มีสังกัดตัวเอง แต่เขาสัญญาเล่นพิเศษกับทางช่อง 3 รวมทั้งดาราใหม่อีกหลายท่าน ถ้าเคยไปดู Supernova ก็จะเห็นว่าดาราเหล่านั้นเป็นดาราหน้าใหม่ สิ่งหนึ่งที่เราประสบความสำเร็จโดยมาตลอด เรามีความสามารถสร้างดารามาแทนรุ่นเก่าๆ รุ่นแล้วรุ่นเล่า

ประเด็นที่สองที่ผมว่า single content multiple platform form อันแรกเรามองเห็นแล้วว่าเป็นบนหน้าจอทีวีก็ยังไปตามปกติ อันที่สองก็คือออนไลน์ที่ผมว่า เราจะมี CH3+ แล้วคนจะได้ดูอย่างที่ว่า ดูได้สองแบบ อันแรกดูเป็น real time พร้อมกับเวลาที่สถานีออกอากาศกับคนที่อยากจะดูเป็น on demand ก็ไปเลือกดูเลย จะมีเมนูให้คุณเลือกมากมายมหาศาลใน CH3+ ในที่เขาเปิดตัวใหม่ ณ วันนี้ CH3+ เขาก็มี แต่เป็น CH3+ ในมิติเดิม ปีหน้าเขาจะเปิดตัวใหม่ เป็นมิติใหม่

ในส่วนที่ 3 ที่ผมเรียกว่า multiple platform ผมคิดว่าช่อง 3 เราเป็นช่องที่ปัจจุบันนี้เราไม่ได้มีรายได้แค่ในประเทศไทย เราไม่ได้มีรายได้แค่ออนไลน์ เรามีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ละครของเราไปต่างประเทศด้วย ผมเรียกว่าแผนกธุรกิจต่างประเทศที่มีหน้าที่หลักขายเป็น global content licensing คือขายลิขสิทธิ์ของคอนเทนต์ที่เป็นละครไปทั่วโลก ละครที่จบไปคือละคร ร้อยเล่ห์มารยา ออกอากาศพร้อมกัน 10 ประเทศ ทุกคนอาจยังไม่ทราบ ออกอากาศที่บ้านเรา คนจีนก็ได้ดูพร้อมกัน คนมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินเดีย ประมาณ 10 ประเทศได้ดูพร้อมกัน วันนี้เราออกละคร ตราบฟ้ามีตะวัน ก็มีคนที่อยู่ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศได้ดูละครเรื่องนี้พร้อมกันกับเรา ในอนาคตข้างหน้าเวลาที่เราทำละคร กลยุทธ์ในการทำละครของเราก็จะเปลี่ยนไป แต่ก่อนแผนกผลิตละคร เวลาเขาทำละครเพื่อสนองคนดูในเมืองไทย ต่อไปเราต้องรู้แล้วว่าเมืองจีนชอบดูดาราคนไหน แล้วเมืองจีนมีกฎหมาย กติกาอย่างไรที่เขารับภาพยนตร์ รับละครเข้าไปออกอากาศในประเทศเขา เพราะทุก ๆ ประเทศเขามีระบบการเซ็นเซอร์ เราต้องเข้าใจ อย่างเช่น เมืองจีนจะมีเรื่องเกี่ยวกับผี เกี่ยวกับเกย์ เกี่ยวกับการกลับชาติมาหาอดีตที่ไม่สามารถนำไปได้ เราจะต้องรู้ดาราที่เป็นแม่เหล็กเรา ดาราที่เป็น A list ที่เขาชอบ ไม่ว่าจะพระเอก นางเอกไปแสดงละครที่ไม่มีปัญหาสำหรับโอกาสที่จะเข้าไปในประเทศจีน

จีนเป็นตลาดที่ใหญ่สำหรับเรา ซึ่งทุกวันนี้ก็ใหญ่สำหรับเราแล้ว ปีนี้น่าจะมีรายได้จากสื่อใหม่แล้วก็จาก global content licensing ในปี 2563 ที่จะจบคาดว่าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 อีกร้อยละ 80 เป็นธุรกิจที่มาจากทีวีของเรา เพราะฉะนั้นก็จะมองเห็นว่าองค์ประกอบรายได้ของเราก็เริ่มเปลี่ยนไป ในสมัยก่อนเกือบทั้งหมดมาจากทีวีอย่างเดียว นั่นสำหรับคนที่บอกเราว่าที่อยู่ในทีวีอย่างเดียว เราจะเติบโตอย่างไร ซึ่งมันไม่ใช่ เราอยู่ในทีวี เรายังทำรายการเหมือนเดิมอยู่ เพียงแต่ว่าตลาดของเรามันมีมากขึ้น อย่างที่บอกว่าในวิกฤตเราก็มีโอกาส เทคโนโลยีมันก็พาคอนเทนต์ของเราไปให้คนที่อยู่ต่างประเทศอยู่ไกลกว่าเรา 2-3 ชั่วโมง ดูละครพร้อมเราได้ด้วย เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเรา ปัญหาคือว่าส่วนที่มันตกลงในออฟไลน์กับส่วนที่มันเพิ่มขึ้นในออนไลน์มันจะทันกันไหม? ถ้ามันทันกันเราก็ไม่เสียเปรียบ ถ้าออนไลน์เราขยายตัวขึ้นเร็ว อันที่ตกช้า เราก็จะมีบวก เราก็ได้ประโยชน์ แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย เราเสียเปรียบแน่นอน เพราะฝั่งนี้มันลง ฝั่งนี้คุณไม่มี เพราะฉะนั้นมันก็เหมือนตราชั่งว่ามันจะไปทางไหน ข้อดีที่เรียกว่า single content multiple platform คือคุณมีต้นทุนแค่ครั้งเดียว แต่คุณมีรายได้สามครั้ง แต่ก่อนต้นทุนครั้งเดียว รายได้ครั้งเดียวเหมือนกัน ถ้าไม่นับรีรัน ตรงนี้มันคืออนาคตของวิสัยทัศน์เราที่เปลี่ยนไปว่าเราไม่ใช่บริษัทที่ทำแค่ทีวี

สัดส่วนของรายได้ในปีหน้าจะเป็นอย่างไรต่อจากนี้ของช่อง 3?

มันจะเพิ่มขึ้นครับ แต่ยังบอกให้ชัดเจนไม่ได้ เพราะว่าจริง ๆ แล้วการเพิ่มขึ้นมันมาจากอันที่หนึ่งความสำเร็จจากการทำ CH3+ อันที่สองความสำเร็จของละครเรา เพราะว่าละครของเรามีโปรไฟล์ดี อย่างเช่นปีนี้ละครช่อง 3 ถือว่าดังไหม? ผมมองว่าถือว่าไม่ค่อยดังเท่าไหร่ในเรื่องของการตอบรับของคนดู ถ้าเราวัดจาก rating แต่ถ้าดูจากตลาดต่างประเทศถือว่าใช้ได้ เพราะว่ามีหลายเรื่องที่ส่งออกไปในต่างประเทศ ขายได้เยอะพอสมควร แสดงว่าความสนใจมันมี ทีมงานก็พร้อม เราค่อยๆ สร้างทีมงานเล็ก ๆ ขึ้นมาในบริษัท จนตอนนี้ทีมงานเราน่าจะเรียกได้ว่าพร้อมแล้วสำหรับในปีหน้า ซึ่งถ้าดูแล้วมันก็น่าจะเป็นปัจจัยบวก

สัดส่วนจะมากขึ้นไหม? ผมคิดว่ามันโอกาสที่จะสูงขึ้นกว่าร้อยละ 20 อาจจะได้ร้อยละ 25 แต่ถ้าหาก CH3+ ประสบความสำเร็จ เวลาที่เปอร์เซ็นต์เพิ่มสูงขึ้น ไม่ได้หมายความว่าช่อง 3 เราจะลดลง ผมมีความรู้สึกว่าช่อง 3 เรายังโตได้อีก ที่ผ่านมาเราเจอวิกฤตโควิด-19 เจอวิกฤตเศรษฐกิจ เจอวิกฤตการเมือง ถ้าสามอย่างนี้ไม่ค่อยรุนแรงเท่าไหร่ ผมคิดว่าพวกโฆษณาจะหันกลับมา ยังไงทีวีก็ยังเป็นสื่อมวลชน หรือ Mass Media ตั้งแต่ปี 2015 ไล่ลงมาเลยในปัจจุบัน ตลาดทีวี อุตสาหกรรมโฆษณา มันตกลงมาแล้วกว่าร้อยละ 45 อย่างน้อยๆ มันตกเยอะไปมาก ซึ่งหมายถึงงบโฆษณาที่อยู่ใน Nielsen report มันตกลงมาแบบนั้น จนถึงปี 2022 ซึ่งในปี 2020 ตกลงมาถึงร้อยละ 40 แต่เราแค่คาดการณ์ว่าจะตกลงมาอีก ซึ่งคาดการณ์ประมาณ 8 ปี ตั้งแต่ 2015 – 2023 ซึ่งจะลงประมาณร้อยละ 46-47 ซึ่งมันจะไม่ขึ้นแล้ว แต่อย่างที่ผมบอกมันก็จะปรับภูมิทัศน์ของคนทำรายการในบ้านเราให้ทำแบบเรา คือคุณทำรายการอยู่ แต่อย่าไปมองทีวีอย่างเดียว คุณต้องมองรายการว่ามีความเหมาะสมไหมที่จะไปต่างประเทศได้ ไป YouTube Facebook application ต่างๆ ความบันเทิงในบ้านเราได้ ถ้าคุณทำได้ มันคือสิ่งที่ดีกว่าในอดีต

ตลาดที่จะส่งออกละครมีกี่ประเทศบ้างแล้ว?

ตลาดหลักของเรายังเป็นประเทศจีน และแน่นอนในประเทศอาเซียน ซึ่งรายการของเรายังไม่ดึงดูดใจมากกว่ารายการที่มาจากประเทศเกาหลี ซึ่งเขาทำมาได้ดีมาก แล้วก็ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากรัฐบาล แล้วก็รายการของเขามีความหลากหลาย มีความต่อเนื่อง แล้วยังมีวัฒนธรรมที่ผมคิดว่าไม่ได้เป็นทีวีอย่างเดียว มันมีทั้งการแสดง ดนตรี มันมีทุกอย่างมาเสริมที่เรียกกันว่าอิทธิพลของวัฒนธรรมเกาหลี ที่มันโจมตีทุกประเทศ เพราะปัจจุบันวงที่ดังสุดในอเมริกา ยังเป็นวงจากเกาหลี ซึ่งยังไงก็แล้วแต่ เราอาจยังเทียบเท่ากับเกาหลีไม่ได้ แต่ถ้าเทียบในประเทศอาเซียน เรายังเป็นประเทศที่ดีในแง่ของความเป็นผู้ให้บริการเนื้อหา สำหรับตลาดใหม่เราก็มี อย่างเช่น ล่าสุดเรามีละครคุณหมีปาฏิหาริย์ เป็นละครแนววายที่สร้างขึ้นมาอยู่ในช่วงหลังข่าว ตอนนี้ขายไปแล้วที่ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งขายได้ เขาซื้อไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตัวละครเองยังไม่เสร็จ

ตอนนี้โครงสร้างองค์กรของเราถือว่า เล็กลงแล้วหรือยัง?

ไม่ผอมครับ เพราะผมเป็นคนเยอะ การที่มีคนเยอะ ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเอาคนออก ผมคิดว่าองค์กรเราเป็นเรื่องของการปรับทักษะมากกว่า ในอนาคตข้างหน้า ผมคิดว่าพนักงานเราทุกคน ควรจะมีการเพิ่มทักษะ ซึ่งทักษะของเราอยู่ในโลกของ Analog ตอนนี้เอาอยู่ในโลกของ digital ผมคิดว่าวิธีการคิด วิธีการทำงาน คนของเราก็ต้องเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นเวลาที่เรามองเห็นในอนาคตจะเปลี่ยนพนักงานไหม? ผมคิดว่าเราอาจจะเปลี่ยน skill set ของพนักงาน จะทำให้พนักงานบางท่านค้นพบว่าบางอย่างมันง่าย บางอย่างมันยาก อันนั้นคือส่วนในของอนาคตข้างหน้า แต่ผมขอเรียนว่าทุก ๆ บริษัทเราอยู่ในโลกของ digital transformation เพราะงั้นสิ่งที่มันเกิดขึ้นว่ามันทำให้เราปรับตัวด้วย เพราะว่าเราเป็นคนที่รับผลกระทบโดยตรง บางคนเขาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร มันก็เป็นแค่เทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวก ของเรามันคือเส้นเป็นเส้นตายของในอนาคตพวกเรา

รายได้ของบริษัทจะเติบโตไปยังไง ทิศทางยังไง?

อย่างที่ผมเรียนว่า 2-3 ปีที่ผ่านมาเรื่องของการแข่งขัน เรื่องของภาวะเศรษฐกิจ และอีกหลายๆอย่าง เรื่องของความเป็น fermentation มาก ๆ ของช่องทีวี ช่องนี้ช่องข่าว ช่องนั้นภาพยนตร์ มันเลยทำให้ eyeball ทำให้มันพุ่งไปที่ต่างๆ แล้วเงินมันก็กระจายไปตามที่ต่างๆ แล้วเราก็ต้องยอมรับว่าบ้านเราคนที่ dominate อุตสาหกรรมโฆษณาคือบริษัทข้ามชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศไทย เพราะฉะนั้นเลยเป็นเรื่องของการกดดันในแง่ของการใช้จ่ายเงินในอุตสาหกรรม แล้วในเรื่องของการเปลี่ยนจากออฟไลน์ไปออนไลน์ ซึ่งมีสองปัจจัย แต่ถ้าฟังจากที่ผมเล่า ในอนาคตข้างหน้าเราก็จะโฟกัสมากขึ้น ในปี 2564 ทางออฟไลน์ ออนไลน์ global content line sensing ของเราที่ไปต่างประเทศ ก็จะมีความสำคัญมากขึ้น หวังว่าธุรกิจทีวีเรา เติบโตได้เพราะคอนเทนต์ที่ดี

ในอนาคตรายได้สามส่วนจะว่าเป็น 30/30/30 ไหม?

มันก็ไม่แน่ครับ ว่ารายได้จะไปในทางไหน แต่อย่างน้อย ๆ สิ่งหนึ่งที่วิสัยทัศน์ของช่องเปลี่ยนไป เราไม่มองธุรกิจรายได้อยู่ที่น้ำสายเดียวแล้ว เรามี streaming ที่สองที่สาม ข้อที่ดีสำหรับธุรกิจเรามีกลยุทธ์ เพราะเราลงทุนครั้งเดียว เราไม่ต้องสร้างละครมาอีกหนึ่งเรื่องเพื่อที่เอาไปขายในต่างประเทศ เราเอาละครที่สร้างอยู่ในประเทศเอาออกไปข้างหน้า แต่อนาคตข้างหน้าความที่เราใหญ่ ผมคิดว่าเราจะเป็นผู้ผลิตขนาดใหญ่ที่มีผู้จัดละครมากมาย ที่มีดารานักแสดงชั้นนำมากมาย สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นพบว่า เราจะเห็นพวก application ที่เป็นคอนเทนต์ที่เป็นรายการ อย่างบ้านเราที่เป็น global content / global application ทั้งหลาย พวกนี้เขาเรียกว่า  global streaming service operator เช่น Netflix Disney+ wetv linetv ที่จะเข้ามาอีกเยอะขึ้น แต่สิ่งนึงที่เขาไม่มี อย่างที่เขาบอกว่าถ้าคุณจะมาประเทศไทย คุณต้องรู้ก่อนว่าคนไทยไม่ดูเสียงฝรั่งคำบรรยายไทย ซึ่งมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ดูพากย์ไทย หรืออย่างน้อย ๆ จะทำเป็นต้นฉบับ อีกหน่อยเราจะทำแบบนั้นได้ เพราะว่าในอนาคตอันใกล้ พอเรามีบุคลากรมากพอ มีทีมงานมากพอ สิ่งที่ต่าง ๆ เหล่านี้ที่ทุกคนมาถาม ว่าพวก global streaming operator พวกนี้เรามองเป็นคู่แข่ง หรือว่ามองเป็นพันธมิตร ซึ่งผมมองเป็นพันธมิตร ไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง สิ่งที่เขาเอามาคือ Hollywood films Korean films ซึ่งคนไทยอยากจะดูคือซีรีส์ของคนไทย

เหตุผลของการกลับมาของคุณสุรินทร์ มีอะไรบ้าง?

มันก็ยากทุกที่ แต่อย่างที่เรียนตอนที่เรากลับมาที่เรามองเห็น เราก็อาจจะมีการโฟกัสที่แตกต่างออกไป เนื่องจากเรามีทีมงานบริหารหลาย ๆ ชุด เราอาจโฟกัสที่ปลายทางมาก ปลายทางหมายความว่าที่โฟกัส platform ในการ build platform ส่วนตัวผมรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มจากอันแรกคือ คอนเทนต์ และคอนเทนต์ที่ดีจะพาเราไปหา platform ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่เราทำไปเน้นเรื่องของการทำ platform เรื่องนโยบาย เนื่องจากองค์กรที่ใหญ่ ในการสื่อสารเพื่อให้พนักงานหรือทุกคนเข้าใจไม่ใช่เรื่องง่าย หลายคนไม่ได้มี skill set  ไว้สำหรับที่จะทำสิ่งที่ทีมงาน ผู้บริหารบางท่านอยากจะได้ นั่นทำให้หลาย ๆ อย่างมันเป็นปัญหา แต่สิ่งที่เราทำในตอนนี้เราก็แก้ปัญหา แต่ปัญหาหลักของเราไม่ว่าธุรกิจของเราจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด เราต้องมีคอนเทนต์ที่ดี และคอนเทนต์ที่ดี เริ่มจากมีบุคลากรที่ดี คือบุคคลที่เกี่ยวข้องการทำละคร ทำข่าว ทำวาไรตี้ ทุกคนก็ยังอยู่กับเรา เพียงแต่นโยบายอาจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แต่สิ่งที่เราต้องทำคือมั่นใจว่านี่คือสิ่งที่เราอยากจะทำ คือทุกคนต้องการมีความมั่นใจ เพราะว่าคนที่ทำละครกับช่อง 3 ยังอยู่กับช่อง 3 ที่เดิม ยังไม่ไปไหน ดาราที่อยู่กับช่อง 3 ส่วนใหญ่ ก็ยังอยู่ที่ช่อง 3 ถึงแม้จะไม่สังกัด แต่ยังเล่นละครกับช่อง 3 เป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เราต้องสร้างความมั่นใจให้กับเขา

คิดว่าธุรกิจช่องสามผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วหรือยัง?

ผมว่ามันผ่านไปแล้ว เพราะอย่างน้อย ๆ ไตรมาสที่ผ่านมาเริ่มมีกำไรที่เราแถลงผลประกอบการกับตลาดหลักทรัพย์ อย่างน้องเราเห็นว่ารายได้เราเพิ่มขึ้น นั่นจุดที่ผ่านมาก็คือจุดต่ำสุดแล้ว หมายถึงคิว 2 ส่วนคิว 3 ก็บวกขึ้น มีกำไรแล้วในส่วนคิว 3 ในรอบหลายปี ในความที่เป็นผู้บริหาร หน้าที่ของผมคือมาสร้างความแข็งแกร่งให้กับช่อง ซึ่งมันก็วัดจากความนิยมของรายการและผลลัพธ์ของธุรกิจ ต้องทำให้มันกำไร แต่ว่า momentum มันดี ช่อง 3 เป็นบริษัทที่ลิสต์อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ สิ่งที่ผู้ถือหุ้นเราจำเป็นที่จะมีคือความเชื่อมั่น ในสิ่งที่เกิดขึ้น และความเชื่อมั่นไม่ได้จากสิ่งที่ผมพูด ความเชื่อมั่นคือผลประกอบการที่โชว์ให้กับพวกเขา

ทิศทางในปีหน้าจะเป็นอย่างไร?

คือเศรษฐกิจมันไม่ดี แต่ว่าเราอยู่ในธุรกิจที่พิเศษ เวลาที่เราอยู่ในธุรกิจขาลง คนลดงบโฆษณา ไม่ได้หมายความว่าเขาเลิกใช้ แต่เขาเลือกใช้ เขาลดงบโฆษณา แต่ไม่ได้ตัดงบโฆษณา ขอแค่ให้เขาไม่ตัดเรา เราก็จะได้งบโฆษณาที่เหมือนเดิม หรือจะดีขึ้นด้วยซ้ำ เขาจะไม่ตัดงบเรา มีเหตุผลเดียวที่ไม่ได้แปลว่าเขาชอบผม แต่คือคอนเทนต์เราดี เขาก็เลยอยากจะซื้อ ผมมีสิ่งต่าง ๆ ที่จะเสริมรายการ เสริมภาพลักษณ์ของสินค้าเขา ผมคิดว่าตรงนั้นคือคำตอบ ไม่ใช่สิ่งที่เขาเชื่อผมหรอก

มีโอกาสที่กลับมาดีเด่นเรื่องข่าวอีกไหม?

บุคลากรด้านข่าว ผมมองว่ามันคือการเสริมมากกว่า โดยเสริมในสิ่งที่เราขาด ที่จริง ๆ แล้วในทุกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด แต่วัฒนธรรมองค์กรของเราไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่แล้วเราจะเพิ่มคนเข้าไปให้มันดูอุ้ยอ้าย ซึ่งต้องยอมรับว่าเราอุ้ยอ้ายพอสมควร

รายการ ข่าว 3 มิติ

ในส่วนของข่าวมีการรับเพิ่มไหม?

สำหรับจำนวนพนักงานทั้งหมดในช่อง ถ้าถึงสิ้นปี จะไม่ถึงพันแล้ว และก็จะไม่มีรอบต่อไปแล้วสำหรับการลดจำนวนพนักงาน แต่ไม่ถึงขนาดรับเพิ่ม อะไรก็แล้วแต่ที่ไม่ใช่เพราะข่าว ส่วนงานไหนจำเป็นต้องเพิ่ม เราก็เพิ่ม เราไม่ได้มีความกดดันในเรื่องของต้นทุนของพนักงานแล้ว ความกดดันของเราอยู่ที่ความสามารถของเราในการที่จะทำรายการของเราเป็นที่ชื่นชอบของคนดู ว่าเราจะสามารถส่งได้ไหม นั่นคือความกดดันอันดับหนึ่ง

ทำไมละครถึงเอาแค่เรื่องเดียวออกอากาศยาว 7 วันรวด?

ไม่มีครับ ตอบง่ายเลยครับ คืออย่างนี้คือเราต้องวางแผนให้ดีเลย คือมันออกมา 7 วันเลย เพราะว่าถ้าเราเอามาสองวัน 1 เรื่อง เราจะต้องใช้ 3 เรื่อง แล้วละครของเรามันผ่านแค่เดือนธันวาคมทั้งเดือนจนถึงมกราคมด้วย ซึ่งธันวาคมเรารู้อยู่แล้วว่าสองสัปดาห์หลังกับมกราคมสองสัปดาห์แรกใช้เงินในอุตสาหกรรมโฆษณาค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้นถ้าเราเอา 3 ละครไปเผชิญหน้าพร้อมกันหมด เราจะถึงช่วงหน้าที่ไม่มีเงินใช้ ไม่มีคนซื้อ ก็เลยตัดสินใจว่าเราใช้ 1 เรื่องออก 7 วันมันจะไปจบตรงช่วงกลางเดือนธันวาคมพอดี แล้วเราก็เลยเอากรงกรรมมาต่อ เพราะเรารู้ว่ากรงกรรมเป็นละครที่ออกมายังไง เราก็ยังมีคนดู และละครก็จะรันไปถึงเดือนมกราคม พอถึงปลาย ๆ เดือนมกราคมก็จะเอาทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม และก็จะเพิ่มความยาวของละครเป็น 2 ชั่วโมง

ต่อไปละครทุกเรื่องจะลิงก์กับทางจีนหรือ platform อื่น ๆ ไหม?

ไม่ใช่ทุกเรื่อง คือเราขายไปที่เมืองจีน มันมีอยู่ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ขายแบบออกพร้อมกันเลย อันที่ 2 ขายแบบสำเร็จรูป คือเขาซื้อแบบ library catalog ที่เราเคยมีอยู่แล้ว อย่างล่าสุด CCTV ซื้อบุพเพสันนิวาสไป ตอนนี้ที่เราปิดการขายไปก็คือ ช่วงเดือนธันวาคมเปิดดู Netflix อาจมีละครช่อง 3 เยอะขึ้น

จะมีการเลิกซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศเข้ามาแล้วใช่ไหม?

เราจะไม่ซื้อ ผมมองว่าการทำทีวีมันคือวัฏจักรมันเปลี่ยนไป การที่เอาซีรีส์เกาหลี ซีรีส์จีน หรือซีรีส์ญี่ปุ่นมาออก ผมคิดว่ามันจะลดความสำคัญลง แต่เรายังมีอยู่ ซีรี่ส์เกาหลี ซีรี่ส์จีน หรือซีรี่ส์ญี่ปุ่น จะไปโดดเด่นอยู่ใน CH3+ จะไปอยู่ในนั้นแทน มันจะเป็น CH3+ ที่ดีมาก เพราะว่าปกติที่เราไปดูพวก OTT พวก application หลายๆ ส่วนใหญ่ภาพจะค่อยไม่ดี เป็นของเถื่อน แต่อันนี้มันคือคุณภาพทีมงานช่อง 3 ที่ไปออกอยู่ใน CH3+ แล้วดูได้คุณภาพชัดเจน เป็น 4K  ด้วยซ้ำ

ในเรื่องของคอนเทนต์ มีโอกาสที่จะไปร่วมมือกับใครไหม? 

มีเยอะแยะเลยครับ มีมาตลอด เพราะจริงๆแล้วเราเป็นบริษัทบันเทิงที่มีบุคลากรพร้อม มีทุกอย่างพร้อม ใครก็แล้วแต่ที่มาหาเรา มาเมืองไทยที่อยากทำ local content ผมคิดว่าเราเป็นตัวเลือก  แรกๆ สำหรับผม ผมว่าไม่มีเกณฑ์หรอกครับ อย่างที่ผมบอกว่าเรามีต้องทุนครั้งเดียว เวลาที่เราขายให้เขามันคือกำไร แต่ถ้าเราทำของใหม่ ถ้ามองกำไรมากน้อยแค่ไหน อยู่ที่เรามองอนาคตยังไง ถ้าเราทำละครต้นฉบับให้เขาแล้วมันโด่งดัง ผมคิดว่าเขาก็ต้องกลับมาใช้บริการเราเรื่อย ๆ

ละคร กรงกรรม

ที่บอกว่าอุตสาหกรรมโฆษณาจะมีการตกลงในปี 2022-2023 แต่ว่าเราก็อยู่ในอุตสาหกรรมนี้เหมือนกัน และของเราจะมีการตกตาม หรือฟื้นตัวยังไง?

อย่างที่ผมเรียนว่ามองตัวเราเองเป็นอุตสาหกรรมทีวีมันก็ตกตาม แต่ถ้ามองว่าเราเป็นเจ้าของคอนเทนต์ขนาดใหญ่ ก็แสดงว่าเรามีแม่น้ำหลายสาย ตราบใดที่เราทำแบบนี้ได้ ทั้งสองส่วนนี้มันจะมาชดเชยในส่วนที่ลดลงได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ทำทีวีอย่างเดียวจะต้องตก คนที่ทำผลดีจริงๆ มันก็มีกำไร เพราะคนมันจะไปหาช่องที่ดีที่สุด เงินก็จะไปหารายการที่ดีที่สุด ในส่วนของรายได้รวม มันคงจะติดลบจากปีที่แล้ว แต่ว่าปีนี้เรามีต้นทุนที่ประหยัดไปเยอะ เนื่องจากช่วงโควิด-19 ในวิกฤตมันก็ช่วย รายได้หายไป แต่ต้นทุนก็ลดลงไปด้วย ต้นทุนมันก็ลดไปเยอะ เพราะมีแต่ละครรีรัน ซึ่งแปลว่าผมไม่มีต้นทุน ต้นทุนของผมคือพนักงาน ตึกผม

บอกว่าคอนเทนต์ช่อง 3 อย่างที่เราจะเน้น วางน้ำหนักกันอย่างไร ข่าว ละคร และวาไรตี้?

ละครมาเป็นอันดับหนึ่งเลย ละครคือเส้นเลือดของเรา ข่าวก็เป็นอันดับสองรองลงมา ส่วนกีฬาก็ต้องรอให้ผู้ขายปรับตัวก่อน ผู้ขายเขาชินกับการขายของแพงๆ ในปัจจุบันนี้จะเห็นว่าในเมืองไทยไม่ค่อยดูเท่าไหร่แล้ว ซึ่งมันแพงเกินไป เพราะฉะนั้นมันกลายเป็นวัฏจักรแล้ว เมื่อเขาปรับตัวลงมา ราคาอยู่ในเรทที่เราซื้อมาและเราทำได้ เราก็จะกลับมาซื้อใหม่ ในวันนี้ที่เราไม่ซื้อ ไม่ได้แปลว่าเราอยากเราได้ แต่ต้นทุนมันเยอะเกินไป


ขอบคุณ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3