fbpx

ในโลกประชาธิปไตยในตะวันตกนั้น ประชาชนจะพึ่งสื่อมวลชนเป็นอย่างสูงในการรับข่าวสาร เพราะการได้รับข่าวสารในประชาธิปไตยถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าประชาชนเป็นผู้ถืออำนาจในการตัดสินใจในทุกการเลือกตั้ง และการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนั้นตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และแน่นอนว่าหลายประเทศเองก็ให้ความสำคัญกับสื่อด้วยเช่นกัน 

ยกตัวอย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็มีการแปรญัตติมาตราที่ 1 ในรัฐธรรมนูญที่แปลได้ว่า “รัฐสภาคองเกรสต้องไม่บัญญัติกฎหมายที่ห้ามแสดงการกระทำที่อันเป็นเสรีภาพของสื่อ (freedom of the press)” ทุกสื่อมวลชนในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงรัฐบาลสหรัฐก็ยังคงถือมาตรานี้ว่าเป็นมาตราที่รักษาความเป็นประชาธิปไตยให้กับสหรัฐอเมริกาเรื่อยมา และเจ้าหน้าที่รัฐคนใดที่ละเมิดสิทธิของสื่อมวลชนด้วยการห้าม หรือปกปิดหรือบิดเบือนข้อมูล ประชาชนและกฎหมายในประเทศสหรัฐจะถือว่าเป็นการทำผิดอย่างร้ายแรง 

ในกรณีศึกษาจากศาลฎีกาสหรัฐในคดีที่เกี่ยวโยงกับสำนักพิมพ์ในอเมริการและรัฐบาลในช่วงยุคสงครามเย็น ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นคือปี 1971 นั้นเป็นปีที่สังคมอเมริกาตั้งคำถามกับการมีส่วนร่วมในสงครามเวียตนามนั้น สำนักพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ได้เอกสารภายในของกระทรวงกลาโหมที่บอกถึงรายละเอียดของการพูดถึงสงครามของรัฐบาลสหรัฐ โดยที่เอกสารพวกมามีชื่อที่หลังว่าเอกสารจากเพนตากอน (Pentagon Papers) โดยที่หลังจากที่เผยแพร่ออกไป รัฐบาลสหรัฐได้ขอให้ศาลเขตออกคำสั่งห้ามให้นิวยอร์กไทมส์ตีพิมพ์เอกสารพวกนี้ ด้วยเหตุผลของความมั่นคงของสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม นิวยอร์กไทมส์เลือกที่จะยื่นอุทรณ์ โดยที่ระบุว่าคำสั่งนี้ผิดหลักข้อแปรบัญญัติมาตรา 1 ในรัฐธรรมนูญสหรัฐ 

โดยที่ศาลฎีกาสหรัฐลงเสียง 6-3 ว่าให้ถอนคำสั่งห้ามตีพิมพ์ โดยหลังจากเหตุการณ์นี้ไป ผู้สื่อข่าวทั่วสหรัฐเห็นความสำคัญของการเสนอข้อมูลที่เป็นความจริง และแน่นอนว่าคำสั่งศาลฎีกาที่มอบเสรีภาพให้สื่อมวลชลนำเสนอข้อมูลเช่นนี้ได้นั้น ย่อมมาด้วยความรับผิดชอบที่ต้องหาความสมดุลระหว่างการเสนอความจริง และการปกป้องข้อมูลในนามของความมั่นคงของชาติ

เครดิตรูปภาพ: Insider

อนึ่ง คำสั่งศาลนี้ ทำให้กระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ในสหรัฐเองมีความไม่พอใจกับการกระทำของสื่อเป็นอย่างมาก และแน่นอนว่าการละเมิดสิทธิของสื่อมวลชน เป็นสิ่งที่สะท้อนความไม่พอใจของรัฐบาลต่อการนำเสนอของสื่อ และแน่นอนว่าความไม่พอใจเหล่านี้สามารถเห็นได้ชัดจากการกระทำของประธานาธิบดีทรัมพ์ หรือผู้นำเผด็จการคนอื่นๆทั่วโลกที่ใช้วิธีการดิสเครดิทสื่อมวลชนในประเทศนั้นๆ เพื่อที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของสื่อ และสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง อย่างเช่นในกรณีที่ทำเนียบขาวสั่งให้โฆษกรัฐบาลถอนสิทธิ CNN ในการเข้าร่วมงานแถลงการ หรืองานแถลงข่าวจากโฆษกทำเนียบขาว ซึ่งการกระทำนี้ถือว่าเป็นลดทอนสิทธิและเสรีภาพของสื่อลง และทำให้ประชาธิปไตยเป็นไปได้ยากมากขึ้น เพราะผู้คนเข้าไม่ถึงข่าวที่ตนเองต้องวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตัวเอง

ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ของสื่อในสหรัฐเองถึงขั้นวิกฤติ สื่อในต่างประเทศ (ในโลกตะวันตกอื่นๆ) ก็ยังคงรักษาสิทธิของตัวเองไว้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งกฎหมายในรัฐธรรมนูญ เพราะว่าผู้สื่อข่าว และสังคมตะวันตกนั้นรู้โดยทั่วไปอยู่แล้วว่าการที่จะรักษาความเป็นประชาธิปไตยต่อไปได้นั้น สื่อยังคงต้องทำหน้าที่ในการเสนอข้อมูลและข่าวสารที่จะช่วยให้ประชาชนได้วิเคราะห์และตัดสินใจในการกระทำของผู้ที่มีอำนาจ และเสรีภาพในสื่อนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในโลกประชาธิปไตย

แต่อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนในโลกตะวันตกเองก็ใช่ว่าจะไร้ปัญหา โดยสิ่งที่ถูกนำขึ้นมาเป็นประเด็นส่วนใหญ่นั้นก็คือการเลือกข้างและการเสนอความจริงบางส่วน เพื่อสนับสนุนนักการเมืองหรือพรรคการเมืองนั้นเองก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลใจในโลกประชาธิปไตย เพราะเชื่อว่าการทำเช่นนี้ย่อมทำให้มีผลกระทบกับความคิด โดยที่นักการเมืองหรือกลุ่มคนบางคนสามารถใช้สื่อในการสร้างอิทธิพลทางความคิดให้กับประชาชนได้ หรือพูดได้ในอีกแง่หนึ่งคือ กลุ่มคนสามารถควบคุมประชาชนได้ โดยการใช้สื่อมาเป็นตัวกลางในเสนอความคิดเหล่านั้น 

ในโลกประชาธิปไตย และในประเทศไทย ณ ตอนนี้ถือได้ว่าเจอเหตุการณ์เดียวกัน เรามีสื่อมวลชนที่เลือกข้าง และเลือกที่จะเสนอความจริงบางส่วนเพื่อเอื้ออำนวยกับกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง และในขณะเดียวกัน เรามีผู้นำที่เลือกจะบิดเบือนในความจริง และทำทุกอย่างเพื่อที่จะไม่ให้สื่อมวลชนเสนอความจริงของรัฐบาล และแน่นอนว่าการทำเช่นนี้ นอกจากจะบั่นทอนระบอบประชาธิปไตยแล้ว ยังลดทอนความน่าเชื่อถือของสื่อลงไปอย่างมาก

เครดิตรูปภาพ: Post Today

โดยสรุปแล้ว พฤติกรรมของสื่อทั้งในโลกประชาธิปไตย และในประเทศไทยนั้นมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ทั้งสองฝั่งมีปัญหาเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้นำประชานิยมดิสเครดิทสื่อ และสร้างความสงสัยต่อการนำเสนอของสื่อที่ทำหน้าที่เสนอความจริงอย่างเต็มที่ และแน่นอนว่าถึงแม้ว่าสื่อเองจะไม่สมบูรณ์แบบเลยเสียทีเดียว พฤติกรรมของสื่อก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทำให้เราตั้งคำถามได้ตลอดเวลา และเป็นการเน้นย้ำความคิดที่ว่าเราต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะและตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นแล้วการพฤติกรรมของสื่อทั้งในโลกประชาธิปไตย และในประเทศไทย ต้องมีการตั้งคำถามและข้อสงสัยตลอดเวลา เพื่อที่เราจะได้อยู่ได้อย่างปลอดภัยจากโลกที่ไร้ความแน่นอนนี้ได้ 

ในอนาคตของสื่อเองก็ต้องมีการเปลื่ยนแปลงที่ชัดเจน การที่เราให้หน้าที่สื่อเป็นส่วนกลางในการเสนอข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและอันตรายไปพร้อมกัน (อาจจะมองว่าเป็นดาบสองคมก็ย่อมได้) การมีกฎที่คอยควบคุมอุตสาหกรรมสื่อนั้นย่อมมีความสำคัญด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการรวบซื้อบริษัทสื่อ หรือแม้แต่การสร้างองค์กรมหาชนที่เป็นอิสระจากรัฐบาล เพื่อเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนที่จะนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงโดยปราศจากอำนาจจากรัฐบาลหรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง โดยที่ประชาชนเป็นเจ้าของ อนาคตของสื่อนั้นมีความเป็นไปได้หลายทาง และเชื่อว่าสื่อจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าสื่อ ไม่ว่าจะต่างประเทศหรือของประเทศไทย จะเดินไปทางไหน