fbpx

แม้นี่จะปี 2019 แล้ว หากเราเปิดทีวีดู เราก็จะหลีกเลี่ยงที่จะไม่เห็นดาราไทยเล่นมุกตลกที่ล้อเลียนและเน้นย้ำ ทัศนคติ เดิมๆ ของ LGBT ที่คนไทยเห็นได้ในรายการทีวีและละครไทยต่างๆ จนหลายคนคงดูจนเคยชินไปแล้ว มุกที่เน้นย้ำ ทัศนคติของกลุ่ม LGBT มันเป็นมุกตลกที่ง่าย ชุ่ย และไร้ความสร้างสรรค์ ที่ทำให้คนในกลุ่ม LGBT กลายเป็นเหมือนตัวตลกและถูกปรนนิบัติต่างจากคนอื่นในสังคม ซึ่งไม่ต่างไปจากมุกที่ล้อเลียนรูปลักษณ์ภายนอก เช่น คนอ้วน คนที่มีผิวสีเข้ม ที่มักจะโดนล้อเลียนหรือถูกให้เป็นตัวตลกทั้งในทีวีจนคนไทยเห็นจนชินไปแล้วเช่นกัน

แน่นอนว่าการสร้างทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ทำให้คนในกลุ่ม LGBT เหมือนตัวตลกของสังคมผ่านทีวีและละครไทยต่างๆ ทำให้ผู้ที่ชมเชื่อในความคิดผิดเหล่านี้และกลั่นแกล้งล้อเลียนได้โดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควร ซึ่งอาจจะส่งผลโดยตรงแก่เด็กๆ ที่ดูรายการเหล่านี้และปลูกฝัง stereotypes ที่ไม่ถูกต้องผ่านมุกตลกชุ่ยๆ และกลั่นแกล้งเพื่อน LGBT ในที่โรงเรียนเพราะเห็นจากในรายการทีวี

มีข้อมูลการวิจัยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้มีผลสำรวจว่า ในประเทศไทย เด็กนักเรียน LGBT มากกว่าครึ่ง (56%) ถูกกลั่นแกล้งทุกเดือน ไม่ว่าจะที่ห้องเรียน สวนเด็กเล่น ห้องน้ำ ซึ่งในยุคที่โลกดิจิทัลนี้ เด็กนักเรียนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือสมาร์ทโฟนมากขึ้น จึงอาจถูกกลั่นแกล้งรังแกบนโลกไซเบอร์ (Cyber-bullying) นอกเหนือจากที่โรงเรียน ซึ่งอาจเชื่อมโยงได้จากสื่อที่ปลูกฝัง stereotypes เด็กนักเรียนดูผ่านมือถือสมาร์ทโฟนก็เป็นได้

ซึ่งทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้จะลดลงหากทุกคนมีความรู้ความเข้าใจกลุ่มคน LGBT เข้าใจว่าพวกเขานั้นไม่ใช่ตัวตลก พวกเขานั้นไม่ต่างจากเรา พวกเขาล้วนมีความแตกต่าง มีความซับซ้อน มีนิสัยหลากหลาย และควรได้การปฏิบัติที่เท่าเทียมไม่ต่างจากคนอื่น

แม้ดูแล้ววงการบันเทิงของไทยเปลี่ยนแปลงลำบาก เพราะมุกแบบนี้เล่นกันในทีวีตั้งแต่ใหนแต่ไรและชินหูชินตาผู้ชมไทยไปเสียแล้ว แต่การที่มีกระแสวิพากย์วิจารณ์ดีเจพล่ากุ้งที่เล่นมุกไม่เหมาะสมนั้น แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในทางที่ดี ที่เริ่มเข้าใจถึงผลกระทบจากมุกตลกชุ่ยๆ ที่ล้อเลียนคนกลุ่ม LGBT ในทางที่แย่อย่างไรบ้าง ผู้ชมไทยหลายๆ คนที่ตระหนึกถึงผลกระทบนี้ ใช้โซเชี่ยลมีเดียเป็นกระบอกเสียงตักเตือนคนในสังคมถึงความไม่เหมาะสมของมุกเหล่านี้ และหวังว่าจะเป็นบรรทัดฐานทางสังคมในอนาคตได้ต่อไปนั่นเอง

เขียนบทความโดย : นันทิชา ก่อพานิชกุล

Source:
https://www.bangkokpost.com/thailand/special-reports/821076/when-school-isn-t-safe
https://www.th.undp.org/content/thailand/en/home/presscenter/pressreleases/2018/06/21.html