fbpx

เขียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563
Update : 12 เมษายน 2564


หลายคนอาจจะเคยผ่านตาหรือเคยอ่านหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์” มาแล้วไม่มากก็น้อย แต่จะมีอีกสักกี่คนที่ทราบว่าในปัจจุบันนี้หนังสือพิมพ์เดลินิวส์เริ่มขาดทุนลงเรื่อย ๆ แล้ว เขาขาดทุนได้ยังไง? แล้วควรปรับตัวยังไงบ้าง? วันนี้ส่องสื่อขอนำมาวิเคราะห์ในบทความฉบับนี้กันนะครับ

ก่อนอื่นต้องเกริ่นถึงที่มาของเดลินิวส์กันก่อน เดลินิวส์ เป็นหนังสือพิมพ์ที่มี บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด เป็นเจ้าของ โดยมีจำนวนพิมพ์ปัจจุบันที่ 900,000 ฉบับ โดยเริ่มพิมพ์ในชื่อ เดลิเมล์วันจันทร์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2493 และต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น เดลินิวส์ ในวันที่ 22 มกราคม 2522 และใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบันนั่นเอง เดลินิวส์ได้เริ่มมีการปรับตัว โดยได้นำเสนอข่าวผ่านเว็บไซต์ของเดลินิวส์เป็นช่องทางเพิ่มเติม และที่ผ่านมาเดลินิวส์ก็รับโฆษณาผ่านช่องทางต่าง ๆ มากขึ้น

เดลินิวส์ในช่วงปีที่ผ่านมา มีรายได้ที่ลดลงลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปี 2561 ที่ผ่านมาที่มีรายได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และส่งผลทำให้ในปีนั้นไม่ได้กำไร และขาดทุนนับเป็นจำนวนกว่า 22 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2559 มีรายได้มากกว่าหลักพันล้านบาท และมีกำไรมากกว่าร้อยล้านบาทอีกด้วย

โดยในปัจจุบันหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (ปี 2562) มีผลประกอบการที่ขาดทุน โดยมีรายได้รวมอยู่ที่ 618,593,308 บาท ลดลงจากปี 2561 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 742,910,564 บาท และทำให้มียอดขาดทุนอยู่ที่ 52,987,898 บาท จากในปี 2561 ที่ยอดขาดทุนอยู่ที่เพียง 22,505,457 บาท สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังจะส่งผลอะไรกับธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์แหละ?

เพราะว่าในปัจจุบันนั้น สื่อสิ่งพิมพ์เริ่มมีจำนวนคนอ่านน้อยลงเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันออนไลน์กำลังเข้ามาแทนที่มากขึ้น และยังใช้พื้นที่บนหน้าหนังสือพิมพ์ให้มีโฆษณามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำ Cover Ads หรือแม้กระทั่งการใช้พื้นที่บนโลก Social Media ให้คุ้มค่ามากกว่าเดิมด้วยการขายพื้นที่โฆษณาอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลทำให้สามารถพอกอบกู้รายได้มาได้บ้าง แต่เดลินิวส์ก็ยังมีจุดอ่อนที่ยังคงเป็นการทำงานที่ต้องใช้องค์กรขนาดใหญ่ รวมไปถึงการที่ใช้พื้นที่โฆษณาที่ยังำไม่คุ้มค่าสักเท่าไหร่

สิ่งที่เดลินิวส์อาจจะทำได้ในตอนนี้ก็คือ การรุกออนไลน์ให้แตกต่างมากขึ้น รวมไปถึงการวิเคราะห์แบรนด์ให้ตรงกับจุดของผู้อ่านให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เราสามารถทำการตลาดให้ตรงจุดกับในส่วนของผู้บริโภคมากขึ้นนั่นเอง ที่สำคัญคือคนอ่านในยุคนี้ไม่ได้อยากอ่านโฆษณามากกว่าแต่ก่อนแล้วเช่นกัน สิ่งนี้ที่หลายเว็บไซต์จำเป็นต้องปรับให้มากขึ้นนั่นเอง