fbpx

บทความนี้มีเนื้อหาที่เปิดเผยเนื้อเรื่องบางส่วนของภาพยนตร์

เชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้คงได้ดูหนังเรื่อง “โฮมสเตย์” (Homestay) มาบ้างแล้ว ผมก็เป็นอีกคนที่ดูมาแล้ว 2 รอบ และในครั้งนี้ถ้าจะไม่เขียนถึงภาพยนตร์เลยก็คงไม่ใช่ “ส่องสื่อ” ฉะนั้น ในวันนี้ผมเลยขอเขียนถึงเรื่องราวในภาพยนตร์สะท้อนโลกความจริงมาให้ทุกท่านได้ลองอ่านกันดูนะครับ เข้าใจว่าเนื้อเรื่องได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณกรรมญี่ปุ่นและถูกดัดแปลงมาเป็นฉบับไทย แต่ก็มีหลากแง่มุมที่ฝังอยู่ในภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน…

เพศและการศึกษา : ความกดดันของเด็กจนต้องยอมแบบไม่มีทางเลือก

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ปูทางให้ มินเป็นเด็กชายคนหนึ่งซึ่งเรียนไม่ค่อยเก่งมาก และได้เป็นพี่-น้องรหัสกับพาย หญิงสาวที่อยู่ในชมรม “ปทุมทิพย์” ชมรมที่ขึ้นชื่อเรื่องของการเรียนเก่งระดับประเทศ นักเรียนในชมรมนี้ต้องมีการแยกตัวเพื่อติวแข่งขันทางวิชาการ มีความกดดันจากการทำโจทย์และอ่านหนังสือเกิดขึ้นมากมายจนเด็กไม่ได้มีเวลามาทำอย่างอื่น อีกทั้งยังมีการแบ่งเกรดของเด็กด้วย “เข็มกลัด” ซึ่งเป็นการสร้างอภิสิทธิ์ในฐานะเด็กที่เป็นหน้าเป็นตาของโรงเรียนอีกด้วย ซึ่งนั่นก็ทำให้เขาได้รับสิทธิพิเศษที่มาพร้อมๆกับความหนักหน่วงของการสอบแข่งขันเพื่อเป็นหน้าเป็นตาให้กับโรงเรียนอีกด้วยทำให้พายจำเป็นต้อง “แลกตัว” กับครูประจำชมรมที่เป็นคนติวให้เธอเพื่อแลกกับการได้ติวไปแข่งโอลิมปิควิชาการด้วย

เรื่องมันไปปะจนทำให้เธอต้องทำร้ายตนเองก็ตอนที่มินไปเจอพายกับครูประจำชมรมปทุมเพชรกำลังจะมีเพศสัมพันธ์กัน ซึ่งเอาเข้าจริงพายไม่ได้ยินยอมที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย กลับกันพายกลับยินยอมที่จะจูบกับมินในชุดนักเรียน (ที่มีเสื้อกันหนาวคลุมทับทั้งๆที่ไม่ค่อยหนาวสักเท่าไหร่ 555) ที่ใต้สะพานพุทธฯ ด้วยความที่รักกันจริงๆและสีหน้าท่าทางที่กำลังมีความสุขด้วย 

ย้อนกลับมาที่ฉากนั้นส่งผลทำให้มินต้องทะเลาะกับพาย จนพายกดดัน (สังเกตจากปฏิกิริยาที่พายแสดงตอนโกรธและตอนเจอหน้ามินที่หน้าเสาธงอีกครั้ง) มันแสดงถึงความกดดันของพายที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ขณะนั้นจริงๆจนพายต้องไปปาแก้วที่ห้องชมรมของเธอ และพยายามอยากให้มินฆ่าเธอ แต่สุดท้ายมินก็ช่วยเธอสำเร็จ

ภาพจาก GDH

ทั้งหมดนี้กำลังจะสะท้อนอะไร?

สิ่งแรกเลยก็คือโรงเรียนกำลังทำให้ทุกคนไม่เท่าเทียมกันในระบบ ซึ่งอันนี้มันสะท้อนจากการแบ่งเกรดเด็กเรียนเก่งถามว่ามันทำได้หรือไม่? ผมคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามันทำได้หรือไม่?เพราะมันก็ทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือเด็กเองก็จะเกิดความกดดันและค่อยๆสูญเสียความเป็นมนุษย์ไปโดยปริยาย ความกดดันที่เกิดขึ้นกับเด็กเองนั้นทำร้ายจนไปถึงการที่ “พาย” จำเป็นต้องแลกตัวเพื่อเอาความรู้ซึ่งทั้งๆที่ความรู้ควรเป็นสิ่งที่นักเรียนควรได้โดยไม่ต้องแลกกับอะไรด้วยซ้ำ โรงเรียนควรให้อยู่แล้วตั้งแต่ต้น

ความกดดันถูกซุกไว้ไต้พรมด้วย “อภิสิทธิ์” ที่โรงเรียนมอบให้เป็นหน้าตาของโรงเรียนซึ่งในความเป็นจริงเด็กกลุ่มนี้คือกลุ่มที่โรงเรียนชอบให้ไปแสดงตัวตอนประเมินของกระทรวงทบวง กรมต่างๆ เพราะมันวัดได้ว่าโรงเรียนสำเร็จแค่ไหน? นั่นถึงทำให้ส่วนหนึ่งพอเด็กเรียนไปเรื่อยๆ ก็จะกดดันตัวเอง นอกจากนั้นก็ยังทำร้ายเด็กที่ไม่เก่งให้กดดันถูกกีดกัน และค้นหาตัวเองไม่พบ เพราะทุกคนถูกดูดความเป็นมนุษย์ออกจากระบบไปหมดแล้ว

อย่างที่สองก็คือการเล่าเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้อาจจะกำลังปิดบัง “สถานะของเด็ก” ในการที่จะมีฉากจูบ ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วเยาวชนควรที่จะมีเสรีภาพในการที่จะมีความคิด มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงจะทำอะไรก็ได้ แต่สิ่งที่สะท้อนในฉากนั้นคือการที่คิดว่าการจูบในชุดนักเรียนคือความไม่เหมาะสมซึ่งอันนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ใหญ่ในสังคมก็ยังคิดแต่เรื่องเดิมๆ ฉะนั้นเรื่องเพศในสังคมมัธยมก็ยังไม่ถูกพูดถึงอยู่ดีไม่ว่าจะผ่านสื่อหรือในห้องเรียนก็ตาม

เรื่องสุดท้ายคือการล่วงละเมิดทางเพศและความที่ “สังคมชายเป็นใหญ่” ยังคงเกิดขึ้นกับสังคมเสมอไม่ว่าจะผ่านสื่อหรือในความเป็นจริง ซึ่งทำให้ผู้หญิงไม่สามารถเรียกร้องได้ และในภาพยนตร์ที่เลือกนำเสนอฉากที่พายถูกล่วงละเมิดทางเพศ มันก็ไปเชื่อมกับความเป็นจริงที่นักเรียนผู้หญิงมักตกเป็นข่าวการถูกครูผู้ชายล่วงละเมิดทางเพศด้วยเช่นกัน

บทสรุปสุดท้าย

อันที่จริงผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าทุกฉากในภาพยนตร์ ทุกบทที่ออกผ่านสื่อ มันมักจะแฝงด้วยสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นอีกมาก ซึ่งผมก็ไม่ได้อยากให้ทุกคนคิดไปว่าเป็นการคิดมากรึเปล่า? แค่ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเท่านั้นเอง แต่อยากให้คิดจากสิ่งที่ดูว่าในความเป็นจริงมันเกิดอะไรขึ้นบ้างในสังคมทุกอย่างที่ใส่ลงในสื่อมักมีเหตุและผลของมัน

ขอให้ทุกคนดูหนังให้สนุกครับ

ภาพจาก GDH